DSpace Repository

การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อปฏิกิริยาตอบสนองของคนบนป้ายบอกทางสาธารณะ: มุมมองของการออกแบบข้อมูล

Show simple item record

dc.contributor.advisor อริศรา เจียมสงวนวงศ์
dc.contributor.author สุนทร สังข์ทอง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-22T23:29:01Z
dc.date.available 2021-09-22T23:29:01Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77123
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract ป้ายบอกทางมีความสำคัญต่อการเดินทางเป็นอย่างยิ่ง ป้ายบอกทางจะบอกถึงสถานที่ ทิศทาง และระยะทาง ของสถานที่ที่จะทำการเดินทางไป แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมายังไม่พบงานวิจัยที่ระบุเกี่ยวกับจำนวนป้ายที่มีผลต่อเวลาปฏิกิริยาตอบสนองต่อจำนวนข้อมูลบนป้ายบอกทาง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลบนป้ายบอกทางที่มีต่อปฏิกิริยาตอบสนองในมุมมองของการออกแบบข้อมูล โดยมีจำนวนผู้เข้าทดสอบทั้งหมด 57 คน เริ่มจากการแบ่งกลุ่มผู้เข้าทดสอบ และทำการทดสอบการวัดความเร็วในการอ่าน ถัดมาเป็นการทดสอบการอ่านคำทั่วไป และคำเฉพาะจากจำนวนคำทั้งหมด 100 คำ หลังจากนั้นเป็นการทดสอบการตอบสนองบนป้ายบอกทาง ผลการทดลองของการศึกษาการตอบสนองบนป้ายบอกทาง พบว่า สามารถได้สมการทำนายเวลาของการตอบสนองบนป้ายบอกทาง โดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.28 ซึ่งการอ่านป้ายบอกทางมีความแตกต่างจากการอ่านแบบปกติ เพราะการอ่านป้ายบอกทางเป็นการอ่านแบบข้าม คือ การที่อ่านผ่าน ๆ เพื่อต้องการข้อมูลทั่วไป เพื่อหาตำแหน่งเป้าหมายหรือทิศทางที่จะไปเท่านั้น ซึ่งต่างจากการอ่านแบบปกติ คือ การที่อ่านทุกตัวอักษรหรือทุกบรรทัด โดยผลจากการทดลองจะแสดงให้เห็นถึงเวลาจากการอ่านป้ายแตกต่างจากการอ่านแบบปกติอย่างเห็นได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามผลจากการทดลองนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการออกแบบเกี่ยวกับการใช้จำนวนข้อมูลบนป้ายบอกทางที่มีพื้นที่บริเวณแคบ หรือการนำไปประยุกต์ใช้ในป้ายคำเตือน เรื่องของการอพยพผู้คนจากพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติได้ทันเวลา
dc.description.abstractalternative Directional signs are extremely important for the journey. Directional signs indicate the location, direction, and distance of the place to be traveled. However, recent research studies have not yet found a specific study on the number of signs affecting reaction time on the amount of information on the directional sign. Therefore, the objectives of this research are to analyze the factors related to the information on the directional on the responses of the information design perspective. A total of 57 Thai natives participated in this study. Begin by dividing the test participated and perform a reading speed measurement test. Next comes a test of reading familiar and non-familiar words from a total of 100 words. After that, it is a test of response on the directional sign. The experimental results of the directional response studies showed that it was possible to obtain an equation to predict the time of response on the directional sign. The R2 of predicting equation of sign reading time is 0.28. Reading of directional sign was different from the normal reading. Because reading signs is skimming reading, meaning that reading through them for general information to find a target position or direction to go only. This is different from normal reading is reading every letter or line. The results from the experiment show that the time from reading signs is significantly different from normal reading. However, the results of this experiment can be applied as a design guideline for the use of data in narrow-area directional signs or applied in warning signs on the timely evacuation of people from disaster-prone areas
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1183
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ป้ายสัญลักษณ์
dc.subject การสื่อทางภาพ
dc.subject Signs and signboards
dc.subject Visual communication
dc.subject.classification Engineering
dc.title การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อปฏิกิริยาตอบสนองของคนบนป้ายบอกทางสาธารณะ: มุมมองของการออกแบบข้อมูล
dc.title.alternative Analysis of factors affecting people’ reaction time on public directional sign: perspective of information design
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมอุตสาหการ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1183


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record