DSpace Repository

การศึกษาการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศแบบแยกส่วนสำหรับร้านสะดวกซื้อ

Show simple item record

dc.contributor.advisor จิตติน แตงเที่ยง
dc.contributor.author ไกรวิชญ์ เศาภายน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-22T23:32:36Z
dc.date.available 2021-09-22T23:32:36Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77183
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract ปัจจุบันประชากรในประเทศไทยนิยมเลือกใช้บริการร้านสะดวกซื้อมากขึ้น เนื่องจากร้านสะดวกซื้อมีทำเลที่ตั้งที่เข้าถึงได้อย่างสะดวกรวดเร็วเหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นการเลือกระบบปรับอากาศที่มีความเหมาะสมกับร้านสะดวกซื้อจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในเรื่องการจัดการการใช้พลังงานของร้านสะดวกซื้อ งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์การใช้พลังงานของระบบปรับอากาศแบบแยกส่วนสำหรับร้านสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นระบบปรับอากาศที่พบว่ามีการใช้งานภายในร้านสะดวกซื้อเป็นส่วนใหญ่ในสภาพอากาศแบบร้อนชื้น โดยการเปรียบเทียบการใช้พลังงานของค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ในลักษณะของค่าเฉลี่ย ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ กำลังไฟฟ้า และการใช้พลังงาน สามารถแบ่งการวิเคราะห์การใช้พลังงานได้ 2 รูปแบบ คือ การวิเคราะห์การใช้พลังงานในแต่ละโซนอุณหภูมิและการวิเคราะห์การใช้พลังงานในแต่ละเดือนของร้านสะดวกซื้อ ในการคำนวณการทำงานของระบบปรับอากาศตลอดทั้งปีนั้นจะใช้โปรแกรม EnergyPlus และโปรแกรม Openstudio โดยจะทำการจำลองพลังงานของระบบปรับอากาศสำหรับร้านสะดวกซื้อ โดยตัวอาคารแห่งนี้มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาคารเดี่ยว 1 ชั้น ติดตั้งระบปรับอากาศแบบแยกส่วนอยู่ภายในทั้งหมด 4 เครื่อง ในการสร้างโมเดลของร้านสะดวกซื้อจำลองแห่งนี้อ้างอิงจากแบบพิมพ์เขียวของร้านสะดวกซื้อและสร้างขึ้นโดยโปรแกรม SketchUp โดยนำข้อมูลสภาพอากาศที่ใช้ในการจำลองพลังงานจากกรมอุตุนิยมวิทยา สำหรับวัตถุประสงค์ในการเปรียบเทียบการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน จะใช้ข้อมูลแผ่นข้อมูลจำเพาะของอุปกรณ์ที่อยู่ในระบบปรับอากาศที่มีการติดตั้งและใช้งานจริง ผลของการเปรียบเทียบค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ จากการแบ่งโซนอุณหภูมิ 8 ตำแหน่ง สามารถสรุปได้ 3 กลุ่ม คือ โซนที่อยู่บริเวณด้านหน้า ตรงกลาง และด้านหลังของร้านสะดวกซื้อ ซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ พบว่า บริเวณจุดอับลมมีสัดส่วนการใช้พลังงานสูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 28.1 และ 28.7 และสัดส่วนการใช้พลังงานตลอดทั้งปีของอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน ตู้เย็น อุปกรณ์ต่าง ๆ และระบบแสงสว่าง คิดเป็นร้อยละ 15.8  39.5  22.3 และ 22.4 ตามลำดับ ถึงแม้จะพบว่าสัดส่วนการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศแบบแยกส่วนมีค่าน้อยที่สุด แต่ก็ยังส่งผลกระทบต่อโซนอุณหภูมินั้น ๆ อีกด้วย โดยการใช้พลังงานโดยรวมของร้านสะดวกซื้อในเดือนมีนาคมมีค่ามากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบตลอดทั้งปี นอกจากนี้การใช้พลังงานโดยรวมในแต่ละโซนอุณหภูมิต่อพื้นที่ใช้งานจริงสำหรับพื้นที่ปรับอากาศและสำหรับพื้นที่ทั้งหมดของร้านสะดวกซื้อตลอดทั้งปี มีค่าเท่ากับ 429.32 และ 403.22 kWh/m2 ตามลำดับ และยังพบว่า เดือนมีนาคมมีค่ามากที่สุด เท่ากับ 34.90 kWh/m2 ซึ่งมีความสอดคล้องกับการวิเคราะห์ผลการใช้พลังงานในแต่ละเดือนของร้านสะดวกซื้อแห่งนี้อีกด้วย
dc.description.abstractalternative Nowadays, people in Thailand prefer to use convenience stores because convenience stores are easily accessible in many locations and suitable for daily life.  Therefore, choosing a proper air conditioning system for convenience stores leads to their energy management.  This research aims to analyze the energy consumption of a split type air conditioning system for convenience stores.  It is found that mostly convenience stores are located in tropical climates.  The analysis of the energy consumption of various average parameters includes temperature, relative humidity, electrical power, and energy consumption.  We can divide the analysis into 2 types: energy consumption analysis in each temperature zones and monthly energy consumption analysis of the convenience store.  Based on an annual calculation of operation from the EnergyPlus and OpenStudio energy simulation program, the model of the energy consumption of the air conditioning system is simulated on a rectangular-shape single-storey building with 4 air conditioners.  The geometric model of building, simplified from the official blueprint of the convenience store, is developed using the SketchUp program.  Weather data, used for the simulation, is referenced from the meteorological department database.  For comparison purposes, the energy consumption of the split air conditioning system is developed based on the actual specifications of the air conditioners installed in the building.  The results of the comparison of parameters from the 8 temperature zones can be summarized into 3 groups: the zones located at the front, middle and back of the convenience store, depending on the installed location of air conditioners.  It is found that the area without the air flow has the highest proportion of energy consumption, accounting for 28.1 and 28.7 %.  The proportions of annual energy consumption of the split type air conditioners, refrigerators, equipment and lighting system account for 15.8, 39.5, 22.3 and 22.4 %, respectively.  Although it is found that the energy consumption of the split type air conditioning system is the lowest one, it also affects the temperature in the corresponding zones.  The total energy consumption of convenience store in March is the highest one, annually.  In addition, the total annual energy consumption in each temperature zone per actual air-conditioned area and per the total area of the convenience store are 429.32 and 403.22 kWh/m2, respectively.  It is also found that the highest value of 34.90 kWh/m2 is in March, which is consistent with the monthly energy consumption analysis of this convenience stores.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1077
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การปรับอากาศ
dc.subject ร้านค้าสะดวกซื้อ
dc.subject Air conditioning
dc.subject Convenience stores
dc.subject.classification Engineering
dc.title การศึกษาการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศแบบแยกส่วนสำหรับร้านสะดวกซื้อ
dc.title.alternative The study on energy consumption of split-type air conditioning system for a convenience store
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมเครื่องกล
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1077


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record