dc.contributor.advisor |
ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ |
|
dc.contributor.author |
จณิตตา จารุวัฒนานนท์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-22T23:36:53Z |
|
dc.date.available |
2021-09-22T23:36:53Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77228 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเดินทาง กล่าวคือประชาชนมีแนวโน้มหลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และหันไปใช้รถยนต์ส่วนบุคคลซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการจราจรและขนส่งในภาพรวม ทั้งนี้การใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดีจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และลดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางไปใช้รถยนต์ได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของมาตรการป้องกัน COVID-19 ได้แก่ มาตรการด้านการกักตัว การสวมหน้ากากอนามัย การฉีดวัคซีน ปัจจัยด้านลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม และทัศนคติเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเดินทางในสถานการณ์สมมติที่มีเงื่อนไขของจำนวนผู้ติดเชื้อ และสัดส่วนของผู้ได้รับวัคซีนที่แตกต่างกัน โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลแบบ Stated Preference ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ใช้รถไฟฟ้าในการเดินทางและมีทางเลือกในการเดินทางเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลหรือแท็กซี่ โดยทำการวิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการและปัจจัยอื่น ๆ ด้วยวิธีสถิติเชิงพรรณนา และแบบจำลองโลจิตพหุนาม ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบการเดินทางในแต่ละสถานการณ์ จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า หากจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น รวมถึงหากมีการผ่อนปรนมาตราการการสวมหน้ากากอนามัยขณะเดินทางและมาตรการการกักตัวผู้ที่มาจากต่างประเทศจะส่งผลให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้รถไฟฟ้าจริง ซึ่งผู้ที่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทาง คือ ผู้เดินทางเพศชาย ผู้ที่มีผู้พักอาศัยร่วมกันที่อายุต่ำกว่า 12 ปี มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ผู้ที่คิดว่าไม่สามารถป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ COVID-19 ได้ ผู้ที่เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าควรมีการรณรงค์การใส่หน้ากากอนามัยในพื้นที่สาธารณะ ผู้ที่เห็นด้วยว่าไม่ควรมีการผ่อนปรนให้ทำกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่ระบาด และผู้ที่เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าการใช้พื้นที่ร่วมกันในระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ อย่างไรก็ดีหากจำเป็นต้องมีการผ่อนปรนมาตรการต่าง ๆ (มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการการกักตัวสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ) จำเป็นต้องมีมาตรการฉีดวัคซีนควบคู่ไปด้วยก็จะสามารถลดสามารถลดแนวโน้มที่คนจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทางได้ |
|
dc.description.abstractalternative |
The outbreak of the novel coronavirus (COVID-19) has changed mobility patterns and travel behaviors. Some commuters switched from public transport to private vehicle or taxi to avoid the risk of COVID-19 infection, adversely affecting the efficiency of the transport system overall. Effective measures to prevent the spread of COVID-19 can provide assurance of public transport use and minimize changes in travel behaviors in favor of cars. This study aims to examine the effects of the COVID-19 preventive measures on mode choice, given the number of local transmitted cases and the proportion of vaccinated population. Hypothetical scenarios were constructed based on the following combinations of COVID-19 preventive measures, including the duration of quarantine of internal travelers, the proportion of face mask wearing population, and the proportion of vaccinated population. The stated preference surveys were conducted on people who normally used rail transit but also had private cars or taxi as travel options. The effects of the preventive measures and other factors were analyzed by descriptive statistics and Multinomial Logit choice modeling was used for analyzing the factors affecting the mode choices under each situation. Our findings showed that an increment of infected cases and the relaxation of preventive measures (i.e., mandatory mask wearing, required quarantine period) would lead people to refrain from using rail transit, particularly Males, individuals living with child under 12 years old, individuals with driver's license, individuals who think that they can't protect themselves from infection COVID-19, individuals who strongly agree that policy of wearing masks in public areas should be continued, individuals who think that allowing some type of activities can pose a risk of COVID-19 spreading, and individuals who strongly agree that riding on public transport increases the risk of infection. However, if there is a need for relax of measures (measures to wear a mask, quarantine measures). The need for vaccination measures, along with it, can reduce the likelihood of people changing their travel patterns. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1092 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Engineering |
|
dc.title |
ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ต่อพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
|
dc.title.alternative |
Effects of COVID-19 pandemic on travel behavior of rail transit passengers in Bangkok metropolitan region |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมโยธา |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2020.1092 |
|