DSpace Repository

การออกแบบค่าความเฉื่อยเสมือนและกำลังไฟฟ้าสำรองที่ต้องการสำหรับระบบเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อเพิ่มเสถียรภาพเชิงความถี่ในไมโครกริดแยกโดด

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิสิษฐ์พล จิรพงศานานุรักษ์
dc.contributor.author ณัฐนันท์ ชลิตตาภรณ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-22T23:37:01Z
dc.date.available 2021-09-22T23:37:01Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77240
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract ในปัจจุบัน มีการนำระบบเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อตอบสนองต่อความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในไมโครกริดที่มีกำลังการผลิตเพียงพอและสามารถเดินเครื่องแบบแยกโดดได้นั้น การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนระบบเซลล์แสงอาทิตย์ส่งผลต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบไฟฟ้าต่ำลงเนื่องจากค่าความเฉื่อยของระบบลดลง เพราะ ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ไม่มีค่าความเฉื่อย นอกจากนี้ ระบบเซลล์แสงอาทิตย์โดยทั่วไปจะทำงานในโหมดกำลังไฟฟ้าสูงสุด ทำให้ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ไม่สามารถปรับเพิ่มกำลังไฟฟ้าเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่ไฟฟ้าของระบบได้  วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการออกแบบค่าความเฉื่อยเสมือนและกำลังไฟฟ้าสำรองที่ต้องการโดยใช้ระบบอนุมานนิวโรฟัซซีแบบปรับตัวได้ เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่ของระบบ ผลการทดสอบแสดงว่า ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่ถูกควบคุมด้วยวิธีที่เสนอต้องการความเฉื่อยเสมือนและต้องการกำลังไฟฟ้าสำรองที่น้อยกว่าระบบที่ใช้การควบคุมความเฉื่อยเสมือนและกำลังไฟฟ้าสำรองแบบคงที่แต่ยังคงสามารถควบคุมการเบี่ยงเบนความถี่ให้อยู่ในช่วงที่กำหนดได้
dc.description.abstractalternative In recent years, the usage of photovoltaic (PV) systems is increasing for responding to the continuously rising demand. In microgrids that have sufficient generation and are able to operate in an isolated mode, the increase of PV system penetration is the cause of lower system stability and security due to the lower system inertia because the PV systems have no inertia. In addition, typical PV systems operate in maximum power point tracking (MPPT) mode. Thus, PV generation cannot increase to respond to the system frequency deviation. This thesis proposes a design of virtual inertia and required power reserve by using the Adaptive Neuro-Fuzzy Inference System (ANFIS) to enhance the capability of PV systems for responding to the system frequency deviation. The results show that the PV system controlled by the proposed method requires less virtual inertia and power reserve than the system using constant virtual inertia and power reserve, whereas the system is still able to keep the frequency deviation within the specified range.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1123
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Engineering
dc.title การออกแบบค่าความเฉื่อยเสมือนและกำลังไฟฟ้าสำรองที่ต้องการสำหรับระบบเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อเพิ่มเสถียรภาพเชิงความถี่ในไมโครกริดแยกโดด
dc.title.alternative Design of virtual inertia and required power reserve for photovoltaic system to enhance frequency stability in isolated microgrid
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมไฟฟ้า
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1123


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record