DSpace Repository

ความต้านทานการไหลของคลองที่มีขยะและผักตบชวาลอยบนผิวน้ำ

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสรี จันทรโยธา
dc.contributor.author สุวิภา กุศลจูง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-22T23:39:28Z
dc.date.available 2021-09-22T23:39:28Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77292
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้านทานการไหลในคลองที่มีขยะและผักตบชวาลอยบนผิวน้ำ โดยศึกษาในห้องปฏิบัติการและทดลองในรางน้ำเปิดหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 0.60 × 18.0 × 0.75 ม. ที่มีการไหลเวียนของน้ำ ในห้องปฏิบัติการแบบจำลองชลศาสตร์และชายฝั่งทะเล ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การศึกษานี้ได้จำลองขยะที่ลอยอยู่บนผิวน้ำด้วยวัสดุพลาสติกถ่วงน้ำหนักและไม้ จำนวน 75 การทดลอง และผักตบชวา 50 การทดลอง ในการทดลองยังได้เปลี่ยนแปลงความลาดท้องน้ำ (S0) 3 ค่า (0, 0.0001 และ 0.0002) โดยข้อมูลความลึกการไหลในรางน้ำอยู่ระหว่าง 0.45 ม. ถึง 0.60 ม. และอัตราการไหลของน้ำอยู่ระหว่าง 7.87 ลิตรต่อวินาที ถึง 16.15 ลิตรต่อวินาที ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ขยะลอยน้ำและผักตบชวาส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้น และยังพบว่าทางน้ำที่มีขยะลอยน้ำและผักตบชวา ทำให้ค่าสัมประสิทธิ์ความขรุขระของทางน้ำเปิด (n) เพิ่มขึ้นสูงสุดประมาณ 450% และ 375% ตามลำดับ ระยะการลอยและความลึกจมของขยะลอยน้ำและผักตบชวาที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่า n เพิ่มขึ้น ในขณะที่ขยะลอยน้ำและผักตบชวา ส่งผลต่อค่าสัมประสิทธิ์อัตราการไหลผ่านประตู (Cd) ลดลงสูงสุดประมาณ 0.56% และ 0.54% ตามลำดับ ระยะการลอยและความลึกจมของขยะลอยน้ำและผักตบชวาที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่า Cd ลดลง นอกจากนี้พบว่าที่ความลึกจมของขยะลอยน้ำและผักตบชวาเท่ากัน ขยะลอยน้ำส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของค่า n และการลดลงของ Cd มากกว่าผักตบชวา
dc.description.abstractalternative This experimental study aimed at investigating the resistances of canals carry floating garbage and water hyacinth. The study was conducted in a flow circulated rectangular flume of 0.60 × 18.0 × 0.75 m in Coastal and Hydraulic Laboratory, Department of Water Resources Engineering, Chulalongkorn University. Floating garbage was modeled using weighed plastic and wood in this experiment with 75 sets. In addition, water hyacinth was modeled in this experiment with 50 sets. Three bed slopes were set for this study (0, 0.0001, and 0.0002). The experiments were performed with the ranges of flow depths of 0.45 m to 0.60 m and 7.87 liter/s to 16.15 liter/s, respectively. The results from this study indicated that floating garbage and water hyacinths increased the water level. The cannels carrying floating garbage and water hyacinths also increased the maximum of Manning’s n roughness coefficient about 450% and 375%, respectively. The results also showed that the increase of length and submerge depth of both floating garbage and water hyacinth increased n. On the other hand, the floating garbage and water hyacinths decreased the maximum of sluice gate discharge coefficient (Cd) about 0.56% and 0.54%, respectively. Moreover, the increase of length and submerge depth of both floating garbage and water hyacinth also decreased Cd. By comparison at the same submerge depth, floating garbage increased n and decreased Cd  more than water hyacinth.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1084
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Engineering
dc.title ความต้านทานการไหลของคลองที่มีขยะและผักตบชวาลอยบนผิวน้ำ
dc.title.alternative Flow resistances of canals carrying floating garbage and water hyacinth
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมแหล่งน้ำ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1084


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record