Abstract:
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจของผู้ป่วยโรคไต
เรื้อรังในเรื่องสภาวะความเจ็บป่วย การบริโภคอาหาร และการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไต
เรื้อรังที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 โดยใช้แบบ
ประเมินความรู้ร่วมกับการสัมภาษณ์ มีผู้เข้าร้วมวิจัยทั้งหมด 200 คน เป็นชาย 101 คน (ร้อยละ 50.5) และหญิง 99
คน (ร้อยละ 49.5) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุมากกว่า 60 ปี (ร้อยละ 45.5) โดยเป็นผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการบำบัด
4 ทดแทนไต 105 คน (ร้อยละ 52.5) ฟอกเลือด 60 คน (ร้อยละ 30.0) ปลูกถ่ายไต 25 คน (ร้อยละ 12.5) และล้างไต
ทางช่องท้อง 10 คน (ร้อยละ 5.0) ผลการศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง คือ 83.34
8.89 คะแนน โดยกลุ่มที่มีความรู้ระดับสูงมากที่สุด คือ กลุ่มที่ได้รับการปลูกถ่ายไต (ร้อยละ 80.0) รองลงมา คือกลุ่มที่
ได้รับการฟอกเลือด กลุ่มที่ไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไต และกลุ่มที่ล้างไตทางช่องท้อง (ร้อยละ 75.0 ร้อยละ 56.2
และร้อยละ 40.0 ตามลำดับ) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองกับตัว
แปรต่างๆ พบว่าคะแนนความรู้มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง และรูปแบบการบำบัดทดแทนไต
(p = 0.042 และ p = 0.003 ตามลำดับ) การศึกษานี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนความรู้สูง ทั้งนี้อาจ
เนื่องจากผู้วิจัยได้ทำการศึกษาในโรงพยาบาลเพียงแห่งเดียว จึงทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับความรู้ในการดูแลตนเอง
จากบุคลากรทางการแพทย์ในรูปแบบเดียวกัน อย่างไรก็ตามยังมีผู้ป่วยบางรายมีความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสภาวะ
โรค การบริโภคอาหาร และการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการ
วางแผนหรือจัดโปรแกรมการให้ความรู้ทางด้านโภชนาการแก่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้
อย่างเหมาะสม ลดการดำเนินไปของโรคและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้