Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการบริโภคอาหารแสะ ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูทั่วไปของผู้ป่วย แบบบันทึกการบริโภคอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมงและแบบบันทึกการประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วยโรคใตเรื้อรั้ง มีผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 200 คน เป็นผู้ป่วยก่อนได้รับการบำบัดทดแทนไต 156 คน (ร้อยละ 78.0 ผู้ป่วยได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 34 คน (ร้อยละ 17.0) และผู้ป่วยได้รับการล้างไตทางช่องท้อง 10 คน (ร้อยละ 5.0! ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยก่อนได้รับการบำบัดทดแทนไตมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยได้รับการพอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.029) ในด้านการบริโภคอาหาร พบว่าผู้ป่วยก่อนได้รับการบำบัดทดแทนไตได้รับปริมาณน้ำต่อวันมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ของทั้งสามกลุ่มได้รับพลังงานรวมต่อวันต่ำกว่าที่แนะนำ และมีการบริโภคโปรตีนต่อวันที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มที่ได้รับการล้างใตทางช่องท้องร้อยละ 70.0 ได้รับปริมาณโปรตีนต่ำกว่าปริมาณที่แนะนำ ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมร้อยละ 41.2 ได้รับปริมาณโปรตีนตามปริมาณที่แนะนำและผู้ป่วยก่อนได้รับการบำบัดทดแทนไดร้อยละ 48.7 ได้รับปริมาณโปรตีนสูงกว่าปริมาณที่แนะนำ เมื่อพิจารณาสัดส่วนของสารอาหารหลักพบว่า
ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมบริโภคโปรตีนและไขมันในสัดส่วนที่เหมาะสม แต่รับประทานคาร์โบไฮเดรตในสัดส่วนที่ต่ำ ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องพบว่ามีภาวะโภชนาการขาด โดยมีการ
บริโภคโปรตีน คารโบไฮเดรต และไขมันในปริมาณที่ต่ำกว่าปริมาณที่แนะนำ ในขณะที่ผู้ป่วยก่อนได้รับการบำบัดทดแทนไตมีภาวะโภชนาการขาดเช่นเดียวกับผู้ป่วยอีกสองกลุ่ม แต่มีการบริโภคอาหารโปรตีนสูงกว่าปริมาณที่แนะนำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ของทั้งสามกลุ่มได้รับปริมาณฟอสฟอร์สต่อวันอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ได้รับแคลเซียมต่ำกว่าปริมาณที่ควรได้รับ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังส่วนใหญ่ ทั้งก่อนและหลังการบำบัดทดแทนไต มีการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการที่ยังไม่เหมาะสม ดังนั้นผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง เพื่อชะลอการดำเนินไปของโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น