Abstract:
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติของนิสิตเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ต่อการเรียนการสอนในชุดรายวิชา
Pharmacy Practice I รูปแบบใหม่ ทั้งหมด 7 ด้าน คือ 1) รูปแบบการเรียนการสอน 2) กิจกรรมภายในห้องเรียน
ช่วงปฏิบัติการภาคบ่าย 3) การให้คำแนะนำที่ได้รับจากอาจารย์ประจำกลุ่มก่อนการเรียนการสอน 4) แหล่งข้อมูล
เพียงพอต่อการเรียนการสอน 5) ด้านการสรุปเนื้อหาของเพื่อนๆ ในห้อง 6) สิ่งแวดล้อมในการเรียนการสอน และ
7) กิจกรรมเสริมหลังเลิกเรียนตอนเย็น และเพื่อเปรียบเทียบเจตคติของของนิสิตเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ต่อการเรียน
การสอนในชุดรายวิชา Pharmacy Practice 1 และ II ต่อทักษะการเรียนรู้ของนิสิต
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นิสิตเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2557 ที่ลงทะเบียนเรียนชุดรายวิชา
Pharmacy Practice II และ Pharmacy Practice (laboratory | จำนวน 143 คน อัตราการตอบกลับจาก
แบบสอบถามออนไลน์ที่ใช้มาตรวัดแบบลิเคร็ท 5 ระดับ (1 = น้อยที่สุด ถึง 5 - มากที่สุด) คือ ร้อยละ 99.30
(142/143) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางระยะสั้นโดยการใช้แบบสำรวจที่พัฒนา
แบบสอบถามขึ้นเองและให้ผู้ตอบตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (เช่น ความถี่ ร้อยละ) และ
สถิติเชิงอ้างอิง (เช่น ไคว์สแคว์ และการทดสอบค่าเฉลี่ยสองกลุ่มที่สัมพันธ์กัน)
ผลการศึกษาเจตคติต่อรูปแบบการเรียนการสอน 7 ด้าน พบว่า 1) ต่ำในด้านรูปแบบการเรียนการสอน
(2.01+1.00) 2) ปานกลางในด้านกิจกรรมภาคบ่าย (2.94+1.00) 3) มากในด้านคำแนะนำที่ได้รับจากอาจารย์
ประจำกลุ่ม (3.72+1.05) 4) ปานกลางในด้านแหล่งข้อมูล (3.08+0.78) 5) น้อยในด้านการสรุปเนื้อหาจากเพื่อน
(2.5 1*0.94) 6 มากในด้านการมีอาจารย์ผู้ช่วยสอน (3.66+0.88) และ 7) น้อยในด้านกิจกรรมเสริมนอกเวลา
(1.85+0.93) และในภาพรวมนิสิตชอบการเรียนการสอนในชุดรายวิชา Pharmacy Practice l| รูปแบบใหม่ น้อย
กว่าชุดรายวิชา Pharmacy Practice รูปแบบเก่า (1.87 +1.02) และนิสิตคิดว่าตนเองได้รับทักษะจากการเรียนรู้
จากชุดรายวิชา Pharmacy Practice II ต่ำกว่าชุดรายวิชา Pharmacy Practice I อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.000)