Abstract:
กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum) เป็นกล้วยไม้ที่ยังไม่เคยมีการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและ
ฤทธิ์ทางชีวภาพมาก่อน คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทำการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพ
ของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีบางชนิด โดยงานวิจัยนี้ได้ใช้เทคนิค yeast cell-based assay ในการคัดกรองฤทธิ์
ความเป็นพิษต่อเซลล์และฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์โทโพไอซอเมอเรสชนิดที่ 1 ของกลัวยไม้สกุลรองเท้านารี 4 ชนิด
ได้แก่ รองเท้านารีขาวสตูล (Paphiopedilum niveum), รองเท้านารีเหลืองตรัง (P. godefroyae), รองเท้านารี
เหลืองกระบี่ (P. exul) และรองเท้านารีฝ่าหอย (P. bellatulum) พบว่าสารสกัดจากรากของรองเท้านารี
เหลืองตรังมีฤทธิ์ดีที่สุด จึงทำการแยกสารบริสุทธิ์ด้วยวิธีคอลัมน์โครมาโทกราฟิ โดยใช้ฤทธิ์ทางชีวภาพเป็นตัวชี้นำ
สามารถแยกสารบริสุทธิ์ได้ 10 ชนิด คือ สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ชนิด ได้แก่ pinocembrin และสารกลุ่ม
สติลบีน 9 ชนิด ได้แก่ 2-(3',5'-dimethoxypheny!)-6-hydroxy-5-methoxybenzofuran, 2-[(E)-2-(3,5-
dimethoxyphenyl)-vinyl-phenol, 3'-hydroxy-2,5'-dimethoxystilbene, 2,3-dihydroxy-3',5'-
dimethoxystilbene, 5,6-dimethoxy-2-(3-hydroxy-5-methoxyphenyl)benzofuran, 2,3'-dihydroxy-
5'-methoxystilbene, 2-(5'-hydroxy-3'-methoxypheny)-6-hydroxy-5-methoxybenzofuran, 2,3'-
dihydroxy-5,5'-dimethoxystilbene และ 3,4'-dihydroxy-5-methoxystilbene โดยสารสติลบีน 2 ชนิด
คือ สาร 2-(3',5'-dimethoxypheny)-6-hydroxy-5-methoxybenzofuran และ 3'-hydroxy-2,5'-
dimethoxystilbene เป็นสารธรรมชาติชนิดใหม่ เมื่อทำการทดสอบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อ sall cell lung
cancer (NC1-H187) ของสารทั้ง 10 ชนิด พบว่าสารที่มีฤทธิ์แรงที่สุดคือ 5,6-dimethoxy-2(3-hydroxy-5-
methoxyphenyl) benzofuran มีค่า IC50 เท่ากับ 1.53 ม9/ml เมื่อเทียบกับสารควบคุมผลบวก ellipticine
และ doxorubicin ซึ่งมีค่า IC50 เท่ากับ 4.46 และ 0.07 ม9/m ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีสติลบีนอีก 5 ชนิด
ที่มีฤทธิ์แรง และอีก 2 ชนิดมีฤทธิ์ปานกลาง แสดงถึงศักยภาพของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีในการพัฒนาเป็นยา
ต้านมะเร็งต่อไปในอนาคต