dc.contributor.advisor | พรชัย สิทธิศรัณย์กุล | |
dc.contributor.advisor | สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์ | |
dc.contributor.author | วันเพ็ญ ทรงดอน | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพมหานคร | |
dc.date.accessioned | 2021-10-01T08:31:11Z | |
dc.date.available | 2021-10-01T08:31:11Z | |
dc.date.issued | 2542 | |
dc.identifier.isbn | 9743343393 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77450 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | |
dc.description.abstract | A cross-sectional study, designed for identifying TB prevalence and factors related to developing disease among the HIV negative drug abusers, was conducted at the Drug Addiction Treatment Clinic of Bangkok Metropolitan Administration during 1 December 1999 to 15 February 2000, in 385 non HIV infected, 15 years old and above persons. Collection of information was done by interviewing using questionnaires, sputum microscopic examination and X-ray examination, Data analysis for determining percentage, mean and standard deviation was performed by the SPSS/PC for Windows programme, while testing for relationship of variables i.e. population, drug addiction, disease and related factors was performed by using Chi-square and t-test. Results revealed radiological TB prevalence of 3.4 percent (95 % C1 = 1.59 – 5.21 %) Factors related to developing disease with statistical significance were malnutrition (p-value=0.010) history of suffering from tuberculosis among family members (p-value = 0.013). The other demographic factors, i.e, sex, age, education, occupation, income, history of alcohol drinking, and smoking were not statistically related to developing disease. Drug addiction factors, for example, methods, frequency, and duration of drugs abuse, were not statistically related to developing disease either. The radiological TB prevalence among the drug abusers in this study was higher than 3 times the 1.01 percent radiological TB prevalence rate obtained from the Third National Prevalence Survey in 1991-1992. This reflects the importance of this very high risk group that an extensive spreading of TB among their families and the communities could happen. Surveillance is necessary, and can be comfortably done by the passive case finding for symptomatic drug abusers who routinely visit the clinic everyday. More attention should be paid to this group in planning and policy making. | |
dc.description.abstractalternative | การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัวขวาง ณ จุดเวลาหนึ่ง เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ติดสารเสพติดที่ไม่ติดเชื้อเอดส์ ณ คลินิกบำบัดยาเสพติด สังกัดสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2542 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 จำนวนประชากรที่ศึกษา 385 รายเป็นผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และมีผล anti-HIV เป็นลบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตรวจเสมหะ และถ่ายภาพรังสีทรวงอก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC for windows วิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลทั่วไปและใช้ Chi – square test และ unpaired t – test ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ได้แก่ปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับวัณโรคกับการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ติดสารเสพติดที่ไม่ติดเชื้อเอดส์ ผลการศึกษาพบว่าความชุกของวัณโรคปอดจากการเอกซเรย์ เท่ากับร้อยละ 3.4 (95% C1 = 1.59 – 5.21) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ภาวะทุพโภชนาการ (p-value = 0.010) และประวัติการมีสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นวัณโรค (p-value = 0.013) สำหรับปัจจัยด้านประชากรได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ประวัติการดื่มสุรา ประวัติการสูบบุหรี่ พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอด ในผู้ติดสารเสพติดที่ไม่ติดเชื้อเอดส์ ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวกับสารเสพติดได้แก่ ชนิดของสารเสพติด วิธีการเสพ ความถี่ในการเสพ ปริมาณในการเสพ รวมทั้งระยะในการเสพสารเสพติดพบว่าไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการป่วยเป็นวัณโรคปอด ในผู้ติดสารเสพติดเช่นกันเมื่อเปรียบเทียบอัตราความชุกของวัณโรคปอดจากเอกซเรย์ของการศึกษานี้กับการสำรวจวัณโรคครั้งที่ 3 ในประชากรทั่วไป 38 จังหวัด พ.ศ. 2534 – 2535 ของกองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ เพื่อศึกษาข้อมูลทางระบาดวิทยาของวัณโรค พบว่าอัตราความชุกวัณโรคโดยการเอกซเรย์เท่ากับ 1.01 จะเห็นได้ว่าความชุกจากการเอกซเรย์ในกลุ่มผู้ติดสารเสพติดที่ไม่ติดเชื้อเอดส์สูงกว่าประชากรทั่วไปถึง 3 เท่า การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มผู้ติดสารเสพติดที่ไม่ติดเชื้อเอดส์เป็นกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญที่ควรให้ความสนใจเนื่องจากสามารถที่จะแพร่เชื้อให้กับชุมชนหรือครอบครัวได้ง่าย การเฝ้าระวังโรค โดยวิธีค้นหาผู้ป่วยแบบตั้งรับ (Passive Case Finding) เป็นวิธีที่ง่ายในการดำเนินการควบคุมป้องกันโรคเนื่องจากผู้ป่วยติดยาเสพติดมารับการบำบัดรักษายาเสพติด ที่สถานบริการทุกวันดังนั้นในการจัดทำแผนงานหรือนโยบายเพื่อเฝ้าระวังวัณโรคจึงควรให้ความสำคัญกับประชากรที่ติดสารเสพติดดังกล่าว | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.521 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject | วัณโรค | |
dc.subject | วัณโรคปอด | |
dc.subject | โรคเอดส์ | |
dc.subject | ยาเสพติด | |
dc.subject | Tuberculosis | |
dc.subject | Tuberculosis, Pulmonary | |
dc.subject | AIDS (Disease) | |
dc.subject | Narcotics | |
dc.title | ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอด ในผู้ติดสารเสพติดที่ไม่ติดเชื้อเอดส์ ณ คลินิกบำบัดยาเสพติด สังกัดสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร | |
dc.title.alternative | Prevalence and factors related to pulmonary tuberculosis among non-HIV infected drug users at narcotic clinics, the Department of Health, Bangkok Metropolitan Administration | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | เวชศาสตร์ชุมชน | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1999.521 |