Abstract:
ลูพาลบิจีนินเป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่สกัดได้จากเถาของเถาวัลย์เปรียง มีรายงานถึงฤทธิ์ความเป็นพิษ
ต่อเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาในเซลล์มะเร็งรังไข่ ในการศึกษานี้
จึงใช้เซลล์มะเร็งรังไข่สองชนิด ได้แก่ SKOV3 ซึ่งเป็นเซลล์ adenocarcinoma และ PA-1 ซึ่งเป็นเซลล์ teratocarcinoma
ในการทดสอบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์ของลูพาลบีจีนิน พบว่าความเข้มข้นของลูพาลบิจีนินที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
ชนิด SKOV3 และ PA-1 ได้ร้อยละ 50 มีค่าเป็น 52.12±5.49 และ 29.37±11.61 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ ลูพาลบิจีนิน
ที่ความเข้มขันที่ออกฤทธิ์ยับยั้งซลล์ได้ร้อยละ 50 สามารถกระตุ้นให้ SKOV3 เกิดการตายแบบ apoptosis และมีการ
แสดงออกของเอนไซม์ caspase หลายชนิด เมื่อศึกษาการแสดงออกของยีน caspase-3, 8 และ 9 ซึ่งเป็นยีนที่มี
ความสำคัญต่อกระบวนการตายแบบ apoptosis พบการแสดงออกของยีนดังกล่าวเพิ่มขึ้นสูงสุดที่เวลา 24 ชั่วโมงจากนั้น
จึงลดลง ทั้งนี้ควรมีการศึกษาการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการตายแบบ apoptosis เพิ่มเติมโดยละเอียด
เพื่อให้ทราบถึงกลไกการออกฤทธิ์ของสารที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
ในขณะที่เซลล์ PA- เมื่อได้รับลูพาลบีจีนินที่ความเข้มข้นที่ออกฤทธิ์ยับยั้งชลล์ได้ร้อยละ 50 นั้นกระตุ้นให้เซลล์
เกิดการตายแบบ necrosis ในชั่วโมงที่ 12 ถึง 48 และพบการตายแบบ apoptosis ในชั่วโมงที่ 72 สอดคล้องกับ
ผลการแสดงออกของเอนไซม์ aspase หลายชนิดหลังจากชั่วโมงที่ 48 ทั้งนี้ลูพาลปิจีนินมีผลกระตุ้นให้เซลล์ PA-1 เกิดการ
ตายแบบ necrosis ช่วงแรกและแบบ apoptosis ตามมาในช่วงหลัง อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาฤทธิ์ของลูพาลบิจีนิน
ต่อเซลล์ PA-1 เพื่อให้ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แน่ซัดต่อไป