Abstract:
"โคคลาน" เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณแก้อาการปวดเมื่อย พบในรูปแบบที่เป็นเครื่องยาสมุนไพรที่ถูกลดขนาด
เป็นขั้นเล็กหรือเป็นผง หรืออาจพบเป็นส่วนประกอบในตำรับยา อย่างไรก็ตามมีสมุนไพรสามชนิดที่ใช้ชื่อว่า
"โคคลาน" ได้แก่ Croton coudatus Geiseler และ Mallotus repandus (Rottler) Mull. Arg. ซึ่งเป็นพืชที่อยู่ใน
วงศ์ Euphorbiaceae อีกชนิดหนึ่งเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Menispermaceae คือ Anamita cocculus (L.) Wight &
Arn. ซึ่งมีสาร picrotoxin เป็นองค์ประกอบทางเคมีที่เป็นพิษ ทำให้ทางเดินหายใจอุดต้นและมีอาการทางระบบ
ประสาท ในตำรายาไทยนิยมใช้สมุนไพรโคคลานชนิด C. caudatus และ M. repandus เป็นสมุนไพรแก้ปวดเมื่อย
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจพิสูจน์อัตลักษณ์พืซสมุนไพร "โคคล าน" เพื่อใช้ให้ถูกต้นและเกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ ใน
การศึกษานี้จึงใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมชนิดแถบรหัสดีเอ็นเอในการตรวจระบุเอกลักษณ์ โดยประสบความสำเร็จในการ
อ่านแถบรหัสดีเอ็นเอบาร์โค้ด 4 บริเวณ ได้แก matK, rbcL, tinH-psbA intergenic spacer และ Internal
transcribed spacer (ITS) โดยลำดับนิวคลีโอไทต์ของดีเอ็นเอบริเวณ matK, rocL, trnH-pstA intergenic spacer
และ ITS ของ C. caudatus เท่ากับ 1521, 1428, 445 และ 627 คู่เบส สมุนไพร M. repandus มีลำดับนิวคดีโอ
ไทด์เท่ากับ 1521, 1428, 783 และ 635 คู่เบส และ A. COcCulus มีลำดับนิวคลิโอไทด์เท่ากับ 1536, 1428, 640
และ 548 คู่เบส ตามลำดับ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องมากยิ่งขึ้น จึงพัฒนาเป็นเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด
แถบรหัสดีเอ็นเอร่วมกับเทคนิคการตรวจวิเคราะห์การหลอมเหลวความละเอียดสูง (DNA Barcode - High
Resolution Melting, Bar-HRM) ซึ่งเป็นเทคนิคการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอบริเวณแถบรหัสดีเอ็นเอร่วมกับเทคนิดการ
ตรวจวิเคราะห์การหลอมเหลวความละเอียดสูง ในการศึกษานี้ ได้เลือกศึกษาบริเวณยีน rOCL ตำแหน่งที่ 890 - 998
ซึ่งมีจำนวน 109 คู่เบส ผลการศึกษาคือสามารถแยกความแตกต่างของพืชทั้งสามชนิดได้โดยการตรวจวิเคราะห์เส้น
โค้งการหลอมเหลว (melting curve analysis) โดยสังเกตค่าการหลอมเหลว (melting temperature, Tm) ที่
แตกต่างกัน โดยค่าเฉลี่ยของ Tm ของ C. caudatus, M. repandus และ A.cocculus เท่ากับ 78.80 土 0.10, 79.60
+ 0.10 และ 79.25 + 0.1 5 องศาเซลเชียส ตามลำดับ ดังนั้นการใช้แถบรหัสดีเอ็นเอร่วมกับเทคนิคการตรวจวิเคราะห์
การหลอมเหลวความละเอียดสูงจึงสามารถพิสูจน์อัตสักษณ์และแยกความแตกต่างของพืชสมุนไพรที่มีซื่อห้องว่า
"โตคลาน" ทั้งสามชนิดได้ รวมทั้งสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคนี้ในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์
สมุนไพรขนิดอื่นได้ต่อไป