DSpace Repository

แบบจำลองเภสัชจลนศาสตร์/เภสัชพลศาสตร์เพื่อประเมินฤทธิ์ต้านเชื้อในห้องปฏิบัติการของยาไทกิซัยคลินต่อเชื้อเคล็บซิลลา นิวโมเนียอี ที่ดื้อยากลุ่มคาร์บาพีเนม

Show simple item record

dc.contributor.advisor วันชัย ตรียะประเสริฐ
dc.contributor.advisor พรพรรณ กู้มานะชัย
dc.contributor.author มัยมุน หะลี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-10-18T04:16:12Z
dc.date.available 2021-10-18T04:16:12Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77621
dc.description วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract การสร้างแบบจำลองเภสัชจลนศาสตร์/เภสัชพลศาสตร์เพื่อประเมินฤทธิ์ต้านเชื้อในห้องปฏิบัติการของยาไทกิชัยคลินต่อเชื้อเคล็บซิลลา นิวโมเนียอี ที่ดื้อยากลุ่มคาร์บาพีเนมใช้ข้อมูลทางเภสัชพลศาสตร์ที่ได้จากกราฟการฆ่าเชื้อกับเวลาในห้องปฏิบัติการแบบจำลองการติดเชื้อในห้องปฏิบัติการถูกนำมาใช้หากราฟการฆ่าเชื้อกับเวลาของยาไทกิซัยคลินต่อเชื้อเคล็บซิลลา นิวโมเนียอี ที่ดื้อยากลุ่มคาร์บาพีเนม ผลการหาค่า MIC ของเชื้อมีค่าเท่ากับ 1 มคก./มล/. ความเข้มข้นของยาไทกิชัยคลินที่ใช้หากราฟการฆ่าเชื้อกับเวลามีค่าเท่ากับ 0.25, 0.5, 1, 2, 4, 8, 16, 32 และ 64 มคก./มล. ผลกราฟการฆ่าเชื้อกับเวลาพบว่ายาไทกิซัยคลินออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อการเจริญเติบโตของเชื้อ (bacteriostatic) ได้ในความเข้มข้น 2, 4, 8, 16, และ 32 มคก./มล. และออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อ (bactericidal) ที่ความเข้มข้นของยาไทกิซัยคลินเท่ากับ 64 มคก./มล. รูปแบบสมการที่พัฒนาสร้างขึ้นจำนวน 16 รูปแบบถูกนำมาใช้วิเคราะห์หาแบบจำลองเภสัชจลนศาสตร์/เภสัชพลศาสตร์โดยโปรแกรม Scientist® ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบสมการแบบจำลองเภสัชจลนศาสตร์/เภสัชพลศาสตร์แบบพื้นฐานไม่เหมาะที่จะอธิบายผลทางเภสัชพลศาสตร์ได้รูปแบบที่เหมาะสมต้องเพิ่มตัวแปรที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมคือจำนวนเชื้อที่เจริญสูงสุด (Nmax) ค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชพลศาสตร์ที่ได้จากสมการแบบจำลองเภสัชจลนศาสตร์/เภสัชพลศาสตร์มีค่าดังนี้อัตราคงที่ของการเจริญเติบโตของเชื้อขณะที่ไม่มียา (k0) เท่ากับ 1.25 ชั่วโมง-1 อัตราคงที่ของการฆ่าเชื้อสูงสุด (kmax) เท่ากับ 2.00 ชั่วโมง-1 ค่าความเข้มข้นของยาที่ให้ผลครึ่งหนึ่งของปลการต้านเชื้อสูงสุด (EC50) เท่ากับ 5.00 มคก./มล. และจำนวนเชื้อที่เจริญสูงสุด (Nmax) เท่ากับ 40x1013 CFU/mL ค่าสถิติที่ได้จากแบบจำลองมีค่าดังนี้คือ Model Selection Criteria (MSC) = 0.96 และ r2 = 0.66 ดังนั้นแบบจำลองเภสัชจลนศาสตร์/เภสัชพลศาสตร์ที่ได้จากกราฟการฆ่าเชื้อกับเวลาจึงเป็นวิธีหนึ่งที่เหมาะสมสำหรับใช้ประเมินฤทธิ์ต้านเชื้อในห้องปฏิบัติการของยาไทกิซัยคลินต่อเชื้อเคล็บซิลลา นิวโมเนียอีที่ดื้อยากลุ่มคาร์บาพีเนม
dc.description.abstractalternative Pharmacokinetic/Pharmacodynamic modeling to evaluate in vitro antimicrobial activity of tigecycline against carbapenem-resistant Klebsiella pneumoniae (CRKP) used in vitro pharmacodynamic data from the time-kill curve. The bacterial time-kill curve of carbapenem-resistant K. pneumoniae was determined by in vitro infection models. The determined MIC value was 1 μg/mL. The tigecycline concentrations-used in the time-kill study were 0.25, 0.5, 1, 2, 4, 8, 16, 32 and 64 μg/mL. The results from time-kill curve found that tigecycline exhibited bacteriostatic effect at the concentration of 2, 4, 8, 16, and 32 μg/mL and bactericidal effect at the concentration of 64 μg/mL. Sixteen different PK/PD models were fitted to the time-kill curve data using software Scientist®. Results showed that a simple PK/PD model was not sufficient to describe the pharmacodynamics effects. Appropriate model that gave good curve fits included saturation of the number of bacteria (Nmax) as additional term. The determined pharmacodynamic parameters were the bacterial growth rate constant in the absence of antibiotic (k0) = 1.25 h-1, the maximum killing rate constant (kmax)=2.00 h1, the concentration of antibiotic necessary to produce 50% of maximum effect (EC50) = 5.00 μg/mL and saturation of the number of bacteria (Nmax) = 40x1013 CFU/mL. The criteria for goodness of fit of the best model were model selection criteria (MSC) = 0.96 and coefficient of determination (r2) = 0.66. Therefore, PK/PD model approach based on time-kill curve could be an appropriate method to evaluate in vitro antimicrobial activity of tigecycline against CRKP.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.2081
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เภสัชจลนศาสตร์ en_US
dc.subject ยา -- ผลกระทบทางสรีรวิทยา en_US
dc.subject สารต้านแบคทีเรีย en_US
dc.subject Pharmacokinetics en_US
dc.subject Drugs -- Physiological effect en_US
dc.subject Antibacterial agents en_US
dc.title แบบจำลองเภสัชจลนศาสตร์/เภสัชพลศาสตร์เพื่อประเมินฤทธิ์ต้านเชื้อในห้องปฏิบัติการของยาไทกิซัยคลินต่อเชื้อเคล็บซิลลา นิวโมเนียอี ที่ดื้อยากลุ่มคาร์บาพีเนม en_US
dc.title.alternative PHARMACOKINETIC/PHARMACODYNAMIC MODELING TO EVALUATE IN VITRO ANTIMICROBIAL ACTIVITY OF TIGECYCLINE AGAINST CARBAPENEM-RESISTANT Klebsiella pneumoniae en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เภสัชกรรมคลินิก en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Wanchai.T@Chula.ac.th,Wanchai.T@chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.2081


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pharm - Theses [1269]
    วิทยานิพนธ์ คณะเภสัชศาสตร์

Show simple item record