DSpace Repository

ปัญหาการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทต่างประเทศ: ศึกษากรณีบริษัทต่างประเทศจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อสนับสนุนการตลาดในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor พล ธีรคุปต์
dc.contributor.author ชัยวัฒน์ ลีเลิศยุทธ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-10-24T04:33:30Z
dc.date.available 2021-10-24T04:33:30Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77649
dc.description เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 en_US
dc.description.abstract บริษัทต่างประเทศที่ประสงค์จะประกอบกิจการขายสินค้าในประเทศไทย อาจใช้วิธีจัดตั้ง บริษัทลูกขึ้นหลายบริษัทและแบ่งแยกหน้าที่งานให้บริษัทลูกทำ เช่น การสนับสนุนการตลาด การ ติดต่อประสานงานกับลูกค้าในประเทศ การนำเสนอสินค้าและรวบรวมคำสั่งซื้อให้กับบริษัท ต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อลดปริมาณกำไรที่ควรเกิดขึ้นในประเทศไทย และโยกย้ายกำไรไปยังประเทศที่มี อัตราภาษีที่ต่ำกว่าหรือเป็นดินแดนภาษีต่ำ (Tax haven) เมื่อศึกษากรณีศึกษาการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อสนับสนุนด้านการตลาดในประเทศไทย และ หลักการพิจารณาสถานประกอบการถาวรตามอนุสัญญาภาษีซ้อนตามร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ OECD และของ UN ประกอบกับคำอธิบายร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ OECD ฉบับปีค.ศ. 2017 พบว่าการดำเนินการของบริษัทลูกดังกล่าวครอบคลุมถึงการมีบทบาทหลักอย่างเป็นปกติวิสัยของตัว แทนที่ไม่อิสระและทำให้เกิดการตกลงทำสัญญาซึ่งโดยปกติแล้ววิสาหกิจต่างประเทศจะไม่แก้ไขใน สาระสำคัญของสัญญานั้น จึงก่อให้เกิดสถานประกอบการถาวรประเภทตัวแทน และยังถือเป็นการ ดำเนินธุรกิจผ่านสถานธุรกิจประจำของบริษัทต่างประเทศ จึงก่อให้เกิดสถานประกอบการถาวรใน ความหมายทั่วไปด้วย ดังนั้น บริษัทต่างประเทศจึงควรต้องมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย บนกำไรสุทธิจากการดำเนินงานของสถานประกอบการถาวรตามมาตรา 76 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร นอกจากนี้ ยังพบว่าการบังคับใช้บทบัญญัติตามมาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ควร ตีความให้กว้างกว่าการประกอบกิจการโดยสำนักงานสาขาที่จัดตั้งในประเทศไทย ให้ครอบคลุมถึงการ ที่บริษัทต่างประเทศเข้ามามีตัวตนและกระทำกิจการในประเทศไทยในลักษณะของสถานธุรกิจใน ประเทศไทยเสมือนว่าได้กระทำกิจการในประเทศไทยผ่านสาขา อันจะมีผลให้บริษัทต่างประเทศต้องมี ภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลในลักษณะเดียวกับการเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าในประเทศไทย โดยตรง โดยอาจวิเคราะห์รายละเอียดของการดำเนินกิจกรรมของบริษัทลูกเพื่อสนับสนุนด้าน การตลาดในประเทศไทย จากการศึกษาปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาเห็นว่ารัฐบาลไทยควรเจรจาแก้ไขอนุสัญญาภาษีซ้อน กับประเทศคู่สัญญามักถูกใช้เป็นฐานในการหลีกเลี่ยงภาษีตามแนวทางการพิจารณาสถาน ประกอบการถาวรของร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ OECD และ UN เพื่อป้องกันการโยกย้ายกำไรเพื่อ หลีกเลี่ยงภาษีของบริษัทข้ามชาตินอกจากนี้ ยังเสนอให้ออกคำสั่งกรมสรรพากรเพื่อวางแนวปฏิบัติใน การพิจารณาสถานประกอบการถาวรในความหมายทั่วไปและสถานประกอบการถาวรประเภทตัว แทนที่สอดคล้องกับหลักการของร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ OECD และ UN และโครงการป้องกัน การถูกกัดกร่อนฐานภาษีและการโอนกำไรไปต่างประเทศ (BEPS Project) ที่ประเทศไทยได้เข้าเป็น สมาชิก รวมถึงคำสั่งกรมสรรพากรเพื่อวางแนวปฏิบัติในการพิจารณากิจกรรมที่เข้าลักษณะ “กระทำ กิจการในประเทศไทย” เพื่อการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากบริษัทต่างประเทศตามบทบัญญัติตาม มาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.140
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ภาษีซ้อน -- สนธิสัญญา en_US
dc.subject บริษัทต่างชาติ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ en_US
dc.title ปัญหาการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทต่างประเทศ: ศึกษากรณีบริษัทต่างประเทศจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อสนับสนุนการตลาดในประเทศไทย en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline กฎหมายเศรษฐกิจ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.subject.keyword การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล en_US
dc.subject.keyword บริษัทต่างประเทศ en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.140


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record