DSpace Repository

ศาสตร์กษัตริย์ : การวิเคราะห์วิถีเกษตรกรรุ่นใหม่ : รายงานการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author ดวงกมล บางชวด
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-10-28T10:22:20Z
dc.date.available 2021-10-28T10:22:20Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77656
dc.description ศาสตร์กษัตริย์ : แนวคิดศาสตร์กษัตริย์ด้านการเกษตร ; แนวคิดศาสตร์กษัตริย์เพื่อการเรียนรู้ -- เกษตรกรรม : เกษตรกรรมกับการพัฒนาบริบทไทยและบริบทโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ; แนวคิดและนโยบายที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม ; หน่วยงานที่สนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ ; วิถีเกษตรกร ; การเรียนรู้ของเกษตรกรรุ่นใหม่ -- ทฤษฏีฐานราก -- ผลการวิเคราะห์วิถีของเกษตรกรรุ่นใหม่ตามแนวทางของศาสตร์กษัตริย์ : คุณลักษณะของเกษตรกรรุ่นใหม่กับศาสตร์กษัตริย์ ; องค์ความรู้และการเรียนรู้ของเกษตรกรรุ่นใหม่ ; วิถีของเกษตรกรรุ่นใหม่ตามแนวทางของศาสตร์กษัตริย์ ; การจำกัดความถึงความสำเร็จของการเป็นเกษตรกร ; ข้อคิดสำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ทำการเกษตร -- รูปแบบวิถีของเกษตรกรรุ่นใหม่ตามแนวทางของศาสตร์กษัตริย์ : รูปแบบวิถีการบ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ ; รูปแบบวิถีของเกษตรกรรุ่นใหม่ตามแนวทางศาสตร์กษัตริย์ en_US
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อวิเคราะห์วิถีของเกษตรกรรุ่นใหม่ตามแนวทางศาสตร์กษัตริย์ และ 2.เพื่อนำเสนอรูปแบบวิถีของเกษตรกรรุ่นใหม่ตามแนวทางศาสตร์กษัตริย์ โดยศึกษาจากเกษตรกร รุ่นใหม่ 26 คนจากทั่วประเทศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์เนื้อหา การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และตรวจสอบการนำเสนอรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1. เกษตรกรรุ่นใหม่กำหนดวิถีการทำการเกษตรตามความพึงพอใจของตนเอง มีการนำศาสตร์ กษัตริย์มาใช้ในบริบทที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้เกษตรทฤษฎีใหม่ การนำหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ การนำหลักการทรงงานมาเป็นฐานคิดและทดลอง การสร้างความเข้าใจ ตนเองและพัฒนาการเกษตรอย่างมีทิศทางที่ชัดเจน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แสวงหาจุดเด่น พร้อม เผชิญอุปสรรค และเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ 2. รูปแบบวิถีการเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับแสวงหาและพัฒนาตนเองด้วย ปรัชญาการใช้ชีวิตที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตน (Philosophy of Life Identity) โดยเริ่มจากการทำความ เข้าใจตนเอง นำไปสู่การเข้าถึงการประยุกต์แนวคิดทฤษฎีสู่การปฏิบัติ จากนั้นจึงมุ่งมั่นพัฒนาการทำงาน เพื่อส่วนรวม โดยเกษตรกรรุ่นใหม่มีคุณลักษณะที่สำคัญ 3 ประการคือ 1. การวางแผนเพื่อที่จะมี (Planning to have) เช่นพื้นที่ เงินทุน ความรู้ เครือข่าย 2. เปิดมุมมองใหม่เพื่อวางแผนชีวิตที่ต้องการจะ เป็น (Planning to be) และ 3. แสวงหาชีวิตที่สมดุล มีความสุขและมีอิสรภาพ (Proper way of life) นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนการจัดอบรมบนฐานความต้องการของ เกษตรกรรุ่นใหม่พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงาน อีกทั้ง สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาและ อาชีวศึกษาได้จัดให้มีหลักสูตรผู้ประกอบการเพื่อสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่อีกด้วย en_US
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were 1. to analyze new generation farmers’ way of life according to the King’s Philosophy and 2. to purpose new generation farmers’ way of life model according to the King’s Philosophy. The research cases were 26 new generation farmers from all parts of Thailand by documentary research, content analysis, in-depth interview, non-participation observation then examine the model by experts. The research instruments were interview form and observation form. The results of research synthesis were: 1. New generation farmers designed the way of agriculture life by their satisfaction that applied the King’s Philosophy in different context from theory to practice as New Theory of Agriculture, Philosophy of Sufficiency Economy, thinking base and experiment of Principle of His Majesty’s Work, self-understanding and set their own agriculture direction legibly, creativity, search for distinctive point, face to obstacles and open mind for the new things. 2. The way of new generation agriculture life model was searching and developing themselves by “Philosophy of Life Identity” that started with selfunderstanding, then improved skills of apply theory to practice, and intended to work for the community. There were 3 elements of new generation farmers as 1. “Planning to have” as place, money, knowledge, friendship. 2. “Planning to be”: to decide own life and 3. “Proper way of life” as balance, happiness and freedom. Moreover, both government and private agency supported the training based on new generation farmers’ need and followed up the performance to improve the training. In addition, universities and vocational education institutes also offered the agricultural entrepreneurship curriculum to form the new generation farmers as well. en_US
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนโดยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2563 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เศรษฐกิจพอเพียง en_US
dc.subject ปรัชญาไทย en_US
dc.subject เกษตรกร -- ไทย en_US
dc.title ศาสตร์กษัตริย์ : การวิเคราะห์วิถีเกษตรกรรุ่นใหม่ : รายงานการวิจัย en_US
dc.title.alternative The king's philosophy : an analysis ways of life of new generation farmers en_US
dc.type Technical Report en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record