DSpace Repository

แนวทางการนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้กับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ : กรณีศึกษาแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์

Show simple item record

dc.contributor.advisor คณพล จันทน์หอม
dc.contributor.author อักษร ทันตวิวัฒนานนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-10-31T10:09:32Z
dc.date.available 2021-10-31T10:09:32Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77686
dc.description เอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 en_US
dc.description.abstract ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเชื่อมต่อไร้พรมแดนในปัจจุบันได้สร้างการเปลี่ยนแปลงใน ทั้งพฤติกรรมและวัฒนธรรมของประชากรทั่วโลก จากหลักฐานโดยหลายแหล่งข้อมูลพบว่าประชาชนไทย ได้ใช้เวลาประมาณ 9 ชั่วโมงต่อวันในการใช้อินเตอร์เน็ต หนึ่งในกิจกรรมหลักของการใช้อินเตอร์เน็ตของ ประชาชนไทยคือการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ดังนั้นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยจึง ได้เติบโตอย่างมีสาระสำคัญในหลายปีที่ผ่านมาโดยมีมูลค่าสูงถึง 4 พันล้านบาทใน พ.ศ. 2562 และเกือบ กึ่งหนึ่งมาจากธุรกรรมผ่านแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นเอกัตศึกษาเล่มนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหามาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแล ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินผ่านแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นช่องทางระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ซึ่งเพิ่มความซับซ้อนมากขึ้นให้แก่ อาชญากรรมการฟอกเงิน จึงควรมีกฎหมายหรือข้อบังคับในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเพื่อ ลดความเสี่ยงที่ช่องทางแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์จะถูกใช้ในการฟอกเงินและเพื่อเพิ่มมาตรฐานในหลัก กฎหมายเพื่อให้อยู่ในระดับเดียวกับกฎหมายสากล จากการศึกษาพบว่า ตั่งแต่อดีต อาชญากรรมการฟอกเงินถือเป็นความผิดทางอาญาที่ร้ายแรงใน หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย เนื่องจากการฟอกเงินนั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการกระทำ อาชญากรรมร้ายแรงในรูปแบบอื่นขึ้นก่อน โดยนักฟอกเงินจะทำการซ่อนเร้น การเปลี่ยนสภาพจากเงินที่ ได้มาโดยการกระทำผ่านธุรกรรมผิดกฎหมายให้เป็นเงินสะอาดเสมือนได้มาจากการกระทำโดยสุจริต จึง ทำให้การตรวจสอบ ติดตาม และปราบปรามยากกว่าอาชญากรรมประเภทอื่น โดยเฉพาะเมื่อมีเทคโนโลยี ใหม่ๆมาเพิ่มช่องทางการพาณิชย์ อาชญากรรมการฟอกเงินย่อมหาหนทางในการก่ออาชญากรรม เช่นเดียวกัน เมื่อศึกษากฎหมาย Corruption, Drug Trafficking and Other Serious Crimes (Confiscation of Benefits) Act ของประเทศสิงคโปร์ ข้อบังคับสำหรับการป้องกันการใช้การใช้สถาบันการเงินเพื่อการ ฟอกเงินหรือการเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของสหภาพยุโรป และข้อเสนอแนะทั้ง 40 ประการของหน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจด้านการเงิน จะพบกว่าบทกฎหมายของทั้ง 3 นั้นมีความทันสมัย เฉพาะเจาะจง ชัดเจน ครอบคลุม เป็นไปตามหลักความได้สัดส่วน และรองรับช่องทางการฟอกเงินแบบ ใหม่ ดังนั้นจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้มีกฎหมายที่รัดกุม มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.160
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ en_US
dc.subject การฟอกเงิน en_US
dc.title แนวทางการนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้กับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ : กรณีศึกษาแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline กฎหมายเศรษฐกิจ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor kanaphon.c@chula.ac.th
dc.subject.keyword การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน en_US
dc.subject.keyword แพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.160


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record