DSpace Repository

โครงสร้างกองทัพไทยกับการเข้าร่วมภารกิจรักษาสันติภาพกับองค์การสหประชาชาติของทหารหญิงไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์
dc.contributor.author เกศสุดา ช่างต่อ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-11-16T02:12:58Z
dc.date.available 2021-11-16T02:12:58Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77782
dc.description สารนิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract ภัยคุกคามรูปแบบใหม่มักจะส่งผลกระทบต่อสตรีและเด็ก ทำให้ทหารหญิงมีความสำคัญในภารกิจรักษาสันติภาพขององค์การสหประชาชาติเพราะทหารหญิงสามารถเข้าถึงตลอดจนพูดคุยสอบถามข้อมูลจากกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบได้ดีกว่าทหารชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ได้รับผลกระทบในประเทศมุสลิม ด้วยสาเหตุนี้ทำให้องค์การสหประชาชาติร้องขอทหารหญิงจากประเทศสมาชิกเข้าร่วมภารกิจรักษาสันติภาพ ประเทศไทยหนึ่งในประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติจึงส่งทหารหญิงเข้าร่วมภารกิจจนทำให้ได้รับคำชื่นชมมากมาย เป็นผลให้กองทัพไทยได้มีการเพิ่มบทบาทและนำเสนอภาพของทหารหญิงมากขึ้น ทั้งนี้โครงสร้างกองทัพไทยถูกสถาปนาขึ้นเป็นพื้นที่ทางสังคมแบบชายเป็นใหญ่ ทำให้สถานะของทหารหญิงเป็นเพียงฝ่ายสนับสนุนของกองทัพไทยเท่านั้น ดังนั้นบทความวิชาการนี้จึงศึกษาข้อจำกัดของบทบาททหารหญิงไทยในภารกิจรักษาสันติภาพอันเนื่องมาจากโครงสร้างชายเป็นใหญ่ของกองทัพไทยเพื่อทำความเข้าใจความย้อนแย้งที่เกิดขึ้น นำมาซึ่งการหาแนวทางสนับสนุนบทบาททหารหญิงไทยในภารกิจรักษาสันติภาพขององค์การสหประชาชาติ จากการศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของทหารหญิงไทยพบว่าทหารหญิงไทยเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ในทางกลับกันพบว่าการส่งทหารหญิงภายใต้รากฐานปิตาธิปไตยของกองทัพไทยในเข้าร่วมภารกิจนั้นยังมีข้อจำกัดหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางการคัดเลือกทหารหญิงเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจซึ่งกีดกันทหารหญิงส่วนใหญ่ในองค์กรอีกทั้งตำแหน่งและความก้าวหน้าของทหารหญิงไทยในกองทัพไทยภายหลังการไปปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพ และสุดท้ายการจำกัดบทบาทของทหารหญิงภายใต้รากฐานการมีอำนาจเหนือกว่าของทหารชาย โดยสรุปกองทัพไทยควรมีการส่งเสริมให้ทหารหญิงมีบทบาทมากยิ่งขึ้นตามความรู้ ความสามารถ ด้วยการเปลี่ยนกฎระเบียบเพื่อเปิดทางให้ทหารหญิงผู้มีความสามารถได้เข้าปฏิบัติงานในภารกิจที่สำคัญมากขึ้น
dc.description.abstractalternative New kinds of threat tend to put women and children in vulnerable positions today. This makes female soldiers important in UN peacekeeping missions because they are able to get information from affected groups than male soldiers, especially, those affected in Muslim countries. For this reason, the United Nations has asked female soldiers from member states to join the peacekeeping mission. Thailand, one of the members of the United Nations, has been actively joining the mission and received positive feedbacks. It seems that Thai female soldiers play a bigger role; therefore, gender equality in Thailand has been improved. However, this paper argues that the patriarchal structure of the Thai army remains unchanged and is thus a major obstacle for gender equality within the organization. In other words, female soldiers are playing only supporting roles in the Thai army. In addition, they lack both opportunity and endorsement in their working life. This paper examines how Thai female soldiers who, on the one hand, participated actively in peacekeeping missions, but have been put under the patriarchal structure of the Thai army, on the other. This paper attempts to understand the tension and find ways to further support gender equality within the Thai army. It founds that although Thai female soldiers are accepted internationally, they are facing several limitations back home. First, the selection process is heavily biased resulting in excluding the majority of female soldiers. Second, the post-peacekeeping career path for these women is neither secured nor promising in comparison to their male counterparts. Last, the peacekeeping role itself reflects the gender division of labor under patriarchy. Therefore, this paper concludes that The Royal Thai Army should encourage female soldiers to play a greater role based on their knowledge and skills. It is crucial to revoke and change some rules so that more female soldiers would be able to participate more diverse missions and received equally respect and support from the organization
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.290
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title โครงสร้างกองทัพไทยกับการเข้าร่วมภารกิจรักษาสันติภาพกับองค์การสหประชาชาติของทหารหญิงไทย
dc.title.alternative The hierarchy of Thai army and Thai female soldiers’ participation in UN peacekeeping operation
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.290


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record