dc.contributor.author |
อมรินทร์ อำพลพงษ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-02-15T08:50:00Z |
|
dc.date.available |
2022-02-15T08:50:00Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78067 |
|
dc.description |
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระที่ 4 เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) -- สะเต็มศึกษา (STEM Education) -- กระบวนการออกแบบทางด้านวิศวกรรม -- การออกแบบ -- แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ -- บทเรียนบนเครือข่าย -- หน่วยการเรียนรู้ |
en_US |
dc.description.abstract |
การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อพัฒนาหน่วยการจัดการเรียนรู้ STEM Education และเปรียบเทียบการเรียนหน่วยการจัดการเรียนรู้ระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิง 2)เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิงด้วยหน่วยการเรียนรู้ STEM Education 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้และการเปรียบเทียบความพึงพอใจหน่วยการเรียนรู้ STEM Education ระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มประชากรกลุ่มนี้เนื่องจากเป็นผู้เรียนในรายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยีซึ่งอยู่ภายใต้บริบทของสถานศึกษาที่มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive sampling) เป็นการเลือกนักเรียน 2 ห้องเรียน คือ ห้อง ม.4/2 (37 คน) และห้อง ม.4/3 (37 คน) รวม 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การออกแบบลูกเบี้ยว ในระบบกลศาสตร์วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ซึ่งมีการจัดการเรียนรู้ในลักษณะห้องเรียนออนไลน์ ใช้ระบบจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Learning Management System, LMS) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยมีการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้ t-test for dependent sample และ2) แบบวัดความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้บูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของหน่วยการเรียนรู้ซึ่งประเมินจากประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1/E2) ได้คะแนน 80.21/80.14 มีประสิทธิภาพสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 80/80 และการเปรียบเทียบการเรียนหน่วยการจัดการเรียนรู้ระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิงพบว่านักเรียนชายได้คะแนน 77.45/77.30 และนักเรียนหญิงได้คะแนน 82.97/82.97 ดังนั้นแสดงว่านักเรียนหญิงเรียนหน่วยการจัดการเรียนรู้ STEM Education มีประสิทธิภาพสูงกว่านักเรียนชาย และสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด เมื่อคิดคะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน การทำกิจกรรมระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนพบว่าผลการเรียนหลังเรียนอยู่ในระดับสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิงพบว่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และในส่วนของความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยหน่วยการเรียนรู้ผลปรากฏว่า นักเรียนมีความพึงพอใจที่ดีต่อการเรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้เทียบผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3.5 และการเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิงพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this Quasi-Experimental Research is 1) to develop a lesson unit for STEM education and compare unit learning management between male and female students, 2) to compare levels of achievements before and after conducting learning activities in the lesson unit hereby developed compare the achievements before and after the learning activities, and 3) to evaluate students’ satisfaction with the lesson unit to compare STEM Education unit satisfaction between male and female students.The population tested in this study is the students from Mathayom 4 (Grade 10) of Chulalongkorn University Demonstration School Secondary Unit. The researcher chooses this population group because they were enrolled in the Design and Technology course, which could be readily conducted within the context of STEM education. For purposive sampling, 37 students from Room M4/2 and 37 students from Room M4/3 were selected for the total of 74 students. The instrument employed in this experiment is a STEM lesson plan in the topic of Mechanical Cam Design in the Design and Technology course, which was implemented in an online classroom using a learning management system (LMS) via the Internet. The tools used for collecting data are 1) pre-lesson and post-lesson achievement tests, from which the average scores and the standard deviations using t-test for dependent samples are calculated; and 2) a satisfaction survey form for the STEM lesson unit, of which the average score and the standard deviation are used for analysis. As a result, the quality of the lesson plan, which was assessed based on efficiency of the process and effectiveness of the result (E1/E2), is scored 80.21/80.14, passing the standard level at 80/80 and comparing the learning management unit classes between male and female students found that male students scored 77.45/77.30 and female students scored 82.97/82.97, so the female students studying STEM Education learning management unit were performing higher than male students and higher than the required standards. When considering the average scores from the pre-lesson achievement test, the in-class activities, and the post-lesson test, the researcher finds that the achievement level after the lesson is significantly higher than that before the lesson with the significance level 0.1 and comparing pre-and post-learning achievements between male and female students showed no statistically significant differences at .01 levels. , and the research shows that students were fairly satisfied with the lesson unit, with the satisfaction level passing the average score of 3.5 and comparing satisfaction between male and female students showed a statistically significant difference at .01 level. |
en_US |
dc.description.sponsorship |
สนับสนุนโดย เงินทุนเพื่อการวิจัย กองทุนคณะครุศาสตร์ ปี 2558 |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
วิศวกรรมศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน |
en_US |
dc.subject |
เทคโนโลยี -- การศึกษาและการสอน |
en_US |
dc.subject |
การเรียนการสอนผ่านเว็บ |
en_US |
dc.title |
การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ STEM Education เรื่อง การออกแบบลูกเบี้ยวในระบบกลศาสตร์ (Cams Mechanical)วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม : รายงานการวิจัย |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |