dc.contributor.author | นวรัตน์ ธัญญศิริ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2022-02-26T02:11:24Z | |
dc.date.available | 2022-02-26T02:11:24Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78104 | |
dc.description.abstract | การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้ โมเดลเลิฟเพื่อสร้างเสริมความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ผลการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้โมเดลเลิฟที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้โมเดลเลิฟ ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จานวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จานวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จานวน 30 คน สาหรับเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้โมเดลเลิฟ 2) แบบวัดความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบวัดความพึงพอใจต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดลเลิฟ ซึ่งเครื่องมือได้ผ่านการประเมินคุณภาพด้วยความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่ามากกว่า 0.5 และมีค่าความเที่ยงรายฉบับ ดังนี้ 1) แบบวัดความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (ความดี 0.82 ความจริง 0.8 และความรู้ปฏิบัติ 0.8) และ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ความรู้ 0.83 ทัศนคติ 0.81 และการปฏิบัติ 0.82) ทั้งนี้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยตนเองและมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และความแปรปรวนพหุคูณ (MANOVA) ตลอดจนใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสาหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังเรียน กลุ่มทดลองมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และดีกว่ากลุ่มควบคุมในด้านความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังเรียน กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุม ในด้านความรู้ และทัศนคติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนเฉลี่ยในด้านการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษาสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างไม่มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้โมเดลเลิฟอยู่ในระดับมาก ดังนั้น จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้โมเดลเลิฟ ช่วย สร้างเสริมความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีแนวโน้มในการประพฤติตนไปในทางที่ถูกต้อง และนาไปสู่การลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพหรือทางเพศต่อไปได้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This quasi-experiment research was designed to: 1) study sex education management using LOVE Model for comprehensive humanization among lower secondary school students; 2) examine the impact of such instructional management on student learning achievement among lower secondary school students; and 3) determine student satisfaction regarding such instructional management. The sample was taken by using purposive sampling. There were sixty eighth grade students of Chulalongkorn University Demonstration Secondary School, with thirty of whom as the experiment group and another thirty of whom as the control group. The instruments in this study included: 1) sex education plans using LOVE Model for comprehensive humanization, 2) comprehensive humanization assessment, 3) learning achievement assessment, and 4) student satisfaction assessment of the instructional management described above. These instruments were also tested for content validity, which exceeded 0.5, and each assessment had reliability scores as follows: 1) the comprehensive humanization assessment had a score of goodness at 0.82, truth at 0.8, and knowledge for practices at 0.8; and 2) the learning achievement assessment had a score of knowledge at 0.83, attitude at 0.81, and practice at 0.82. The data were collected by the researcher and analyzed using mean, standard deviation, t-test, and MANOVA. In addition, content analysis was also conducted on qualitative data. The study found that 1) following the experiment, the experiment group performed better and scored higher than the control group in comprehensive humanization, with statistical significance at .05 level; 2) following the experiment, the experiment group performed better than before experiment and scored higher than the control group on student learning achievement both in knowledge and attitude, with statistical significance at .05 level. Furthermore, the former scored higher than the latter in sex education practice, but without statistical significance at .05 level and 3) respectively. The student satisfactions regarding sex education management using LOVE Model was also excellent. Therefore, this research has shown that sex education learning management using the LOVE Model not only helps promote comprehensive humanization among lower secondary school students, but it also enables them to act or behave appropriately, which will lower health and sexual behavior risks as a result. | en_US |
dc.description.sponsorship | สนับสนุนโดย เงินทุนเพื่อการวิจัย กองทุนคณะครุศาสตร์ ปี 2559 | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เพศศึกษา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | en_US |
dc.subject | การเรียนรู้ (จิตวิทยา) | en_US |
dc.subject | จิตตปัญญาศึกษา | en_US |
dc.title | ผลการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้โมเดลเลิฟเพื่อสร้างเสริมความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น | en_US |
dc.title.alternative | Effects of learning management on sex education by using the love model for comprehensive humanization of lower secondary school students | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |