Abstract:
ไคโตซานเป็นพอลิเมอร์ตามธรรมชาติที่สามารถหาได้ง่าย โดยสามารถสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยากำจัดหมู่อะซีติลของไคติน ซึ่งได้จากเปลือกกุ้ง รวมทั้งสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เหมาะสมแก่การนำมาทำเป็นพอลิเมอร์เพื่อนำส่งสารสกัดพิวราริน ซึ่งมีฤทธิ์ในการรักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ขยายหลอดเลือดหัวใจและสมอง และรักษาโรคเบาหวาน เป็นต้น ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงศึกษาการควบคุมการปลดปล่อยพิวราริน โดยใช้ PAAm-g-Chitosan ซึ่งสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน โดย PAAm-g-Chitosan จะแสดงคุณสมบัติไฮโดรเจลเมื่อนำไปละลายในสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย ซึ่งเป็นสมบัติสำคัญที่ใช้ในการปลดปล่อยพิวราริน จากนั้นจึงนำไปพิสูจน์เอกลักษณ์ด้วยเทคนิคอินฟราเรด-สเปกโตรสโกปี และนำไปหา % การปลดปล่อยยา (Encapsulation) ด้วยเทคนิคยูวี-วิสิเบิล สเปกโตรสโกปีเทียบกับสารละลายมาตรฐานของพิวราริน ที่อัตราส่วนพิวราริน:PAAm-g-Chitosan เท่ากับ 1:20 ให้ % การปลดปล่อยยาสูงสุด 50% เมื่อนำมาศึกษาการควบคุมการปลดปล่อยในสภาวะจำลองบริเวณ กระเพาะอาหาร (pH 1.2), ลำไส้เล็กตอนต้น (pH 6.4), ลำไส้เล็กตอนปลาย (pH 7.4) พบว่า PAAm-g-Chitosan มีการปลดปล่อยยาอย่างรวดเร็วใน 2-3 ชั่วโมง และปลดปล่อยยาอย่างช้าๆจนถึงเวลา 24 ชั่วโมง