Abstract:
อนุภาคนาโนทองสามารถใช้ในการเพิ่มความเข้มข้นของสารตัวอย่างและทำหน้าที่เป็นโพรบคัดเลือก สำหรับ pre-concentration และการแยกสารตัวอย่างที่มีหมู่ไทออลเป็นองค์ประกอบ ในงานวิจัยนี้ได้ สังเคราะห์โคพอลิเมอร์บรัชของเอ็น-ไอโซโพรพิลอะคริลาไมด์ (NIPAM) และอะคริลิกแอซิด (AA) ประกอบด้วย อนุภาคนาโนทองบนแผ่นกระจก ด้วยปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันริเริ่มจากพื้นผิวด้วยกลไกแบบ reversible addition−fragmentation chain transfer (RAFT) polymerization พิสูจน์เอกลักษณ์โดยการวัดค่ามุม สัมผัสของน้ำและวิเคราะห์ด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (FT-IR) หมู่คาร์บอกซิล ของ PAA จะทำหน้าที่เป็นตัวรีดิวซ์ Au³⁺ ทำให้เกิดอนุภาคนาโนทองด้วยวิธีการสังเคราะห์ภายใน (in situ) ได้โดยไม่ต้องเติมตัวรีดิวซ์จากภายนอก นอกจากนี้ยังอาศัยการยืดออกของสายโซ่ PNIPAM ที่อุณหภูมิต่ำกว่า lower critical solution temperature (LCST) ซึ่งมีค่าประมาณ 32 °C ในน้ำ ช่วยในการตรึงอนุภาคนาโน ทองไว้ภายใน จากการวิเคราะห์โคพอลิเมอร์บรัชของ P(NIPAM-co-AA) ที่มีอนุภาคนาโนทองเป็น องค์ประกอบด้วยเทคนิคไซคลิก โวลแทมเมตรี แสดงให้เห็นว่าอนุภาคนาโนทองช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใน การนำไฟฟ้าให้กับพอลิเมอร์บรัช ซึ่งเป็นแนวทางในการนำไปใช้สำหรับ pre-concentration และการแยกสารตัวอย่างที่มีหมู่ไทออลเป็นองค์ประกอบในการวิเคราะห์ด้วยเคมีไฟฟ้าต่อไป