DSpace Repository

การแยกไอออนเงินและอนุภาคขนาดนาโนเมตรของเงินด้วยซิลิกาที่ดัดแปรผิวด้วยกรดฮิวมิก

Show simple item record

dc.contributor.advisor อภิชาติ อิ่มยิ้ม
dc.contributor.author ทิพย์วิภา จักรเจริญทรัพย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-03-03T03:39:39Z
dc.date.available 2022-03-03T03:39:39Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78151
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ได้เตรียมตัวดูดซับอะมิโนโพรพิลซิลิกาที่ตรึงด้วยกรดฮิวมิกเพื่อใช้แยกไอออนเงินและอนุภาคขนาดนาโนเมตรของเงิน ตรวจสอบลักษณะเฉพาะของตัวดูดซับด้วยเทคนิคฟูเรียทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (FTIR) และดิฟฟิวส์รีเฟล็กแทนซ์ ยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรสโกปี (DR-UV-Vis) โดยเทคนิคการแยกไอออนเงินและอนุภาคขนาดนาโนเมตรของเงินใช้วิธีการสกัดด้วยตัวดูดซับของแข็ง และตรวจหาปริมาณของไอออนเงินและเงินทั้งหมดด้วยเทคนิคอินดักทีฟลีคัปเปิลพลาสมาออปติคัลสเปกโทรสโกปี (ICP-OES) และตรวจหาปริมาณของอนุภาคขนาดนาโนเมตรของเงินด้วยเทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรสโกปี (UV-Vis) งานวิจัยนี้ทดสอบการแยกด้วยวิธีแบบแบทช์และแบบคอลัมน์ ในการศึกษาแบบแบทช์พบว่าค่าพีเอชที่เหมาะสมในการแยกคือพีเอช 5-7 โดยพบว่าสามารถสกัดไอออนเงินได้มากถึง 85 เปอร์เซ็นต์ จากการทดลองพบว่าตัวดูดซับจะไม่ดูดซับอนุภาคขนาดนาโนเมตรของเงิน แต่จะดูดซับไอออนเงิน ซึ่งสามารถชะไอออนเงินออกจากตัวดูดซับได้ด้วยกรดไนตริกความเข้มข้น 5% v/v จากการทดลองในระบบแบบคอลัมน์โดยใช้อัตราการไหล 1 มิลลิลิตร/นาที พบว่าสามารถแยกไอออนเงินและอนุภาคขนาดนาโนเมตรของเงินได้ จากการทดลองแสดงให้เห็นว่าอะมิโนโพรพิลซิลิกาที่ตรึงด้วยกรดฮิวมิกสามารถแยกไอออนเงินและอนุภาคขนาดนาโนเมตรของเงินด้วยวิธีแบบแบทช์และคอลัมน์ได้ en_US
dc.description.abstractalternative Humic acid-modified aminopropyl silica was prepared and used as a sorbent of the separation of silver ions and silver nanoparticles. The resulting material was characterized using Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FTIR) and Diffuse Reflectance UV-Vis Spectroscopy (DR-UV-Vis). A solid phase extraction method using the above sorbent was developed to separate trace amount of silver ions and silver nanoparticles from silver solution. Inductively Coupled Plasma Optical Emission Spectrometry (ICP-OES) was employed for the determination of silver ions and total silver and UV-Visible Spectrophotometry (UV-Vis) was used for the determination of silver nanoparticles. Batch and column extraction methods were studied. The optimum pH range in batch method was 5-7. The extraction efficiency of silver ions was over 85%. The results showed that silver ions could be adsorbed by the sorbent while silver nanoparticles were not retained. Silver ions were then eluted form the sorbent using 5% v/v HNO₃. In column method, the flow rate of 1 mL/min was used. Silver ions and silver nanoparticles could be separated. The experimental results showed that the humic acid-modified aminopropyl silica could be employed for the separation of silver ions and silver nanoparticles in both batch and column methods. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ไอออนเงิน en_US
dc.subject ซิลิกา en_US
dc.subject กรดฮิวมิค en_US
dc.subject Humic acid en_US
dc.subject Silica en_US
dc.subject Silver ions en_US
dc.title การแยกไอออนเงินและอนุภาคขนาดนาโนเมตรของเงินด้วยซิลิกาที่ดัดแปรผิวด้วยกรดฮิวมิก en_US
dc.title.alternative Separation of silver(I) ions and silver nanoparticles using humic acid-modified silica en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record