Abstract:
ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาประสิทธิภาพในการเสริมไอโอดีนด้วยเทคนิคการเร่งด้วยไฟฟ้าในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งอาศัยหลักการเคลื่อนย้ายไอออน โดยเลือกใช้ไข่สดที่หาซื้อได้จากท้องตลาดทั่วไป ทำการเสริมไอโอดีนในไข่ สดโดยใช้สารละลายโพแทสเซียม ไอโอเดต ความเข้มข้น 500 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยเลือกทำการเสริมไอโอดีนใน ไข่สดที่ศักย์ไฟฟ้า 0, 7.2, 15.7, 24.4 และ 32.9 โวลต์ ณ เวลา 1, 5, 10 และ 15 นาที การตรวจวัดปริมาณ ไอโอดีนในไข่สดจะนำไปตรวจวัดด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบฉีดไหล โดยอาศัยปฏิกิริยาแซนเดลล์ – โคลธอฟฟ์ ซึ่งเตรียมตัวอย่างด้วยวิธีการตกตะกอนโปรตีนด้วยกรดไตรคลอโรแอซีติก โดยการเสริมไอโอดีนในไข่ สดด้วยเทคนิคการเร่งด้วยไฟฟ้านั้น ได้จำแนกกลุ่มในการเสริมไอโอดีนในไข่สดเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ไข่สดจะ ถูกแช่ในสารละลายไอโอดีน ซึ่งวางอยู่ระหว่างขั้วอิเล็กโทรดที่ต่อกับแหล่งกำเนิดศักย์ไฟฟ้าในการให้ความต่าง ศักย์ไฟฟ้า กลุ่มที่ 2 ไข่สดจะถูกวางอยู่กึ่งกลางกระบะระหว่างสารละลาย ซึ่งถูกกั้นออกจากกันระหว่าง สารละลายไอโอดีนกับสารละลายไอโอดีน หรือสารละลายไอโอดีนกับน้ำ ซึ่งขั้วอิเล็กโทรดจะอยู่ในสารละลายฝั่ง ละขั้วเพื่อให้มั่นใจว่าทิศทางการเคลื่อนที่ของสารละลายไอโอดีนจะผ่านเปลือกไข่เข้าสู่ไข่สดได้ และกลุ่มที่ 3 ไข่ สดจะวางอยู่กึ่งกลางกระบะระหว่างสารละลายไอโอดีน ซึ่งขั้วประจุลบอยู่ในสารละลายไอโอดีน ส่วนขั้วประจุ บวกจะติดกับไข่สดโดยตรงเพื่อให้มั่นใจว่าสารละลายไอโอดีนจะผ่านเข้าสู่ไข่สดได้ เมื่อทำการเสริมไอโอดีนในไข่ สดด้วยเทคนิคการเร่งด้วยไฟฟ้า ปริมาณไอโอดีนในไข่สดมีความแปรปรวนสูง แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของปริมาณ ไอโอดีนในไข่สดไม่ชัดเจน เนื่องจากใช้ความเข้มข้นของสารละลายโพแทสเซียม ไอโอเดตต่ำ อาจส่งผลให้ไม่เห็น การเคลื่อนย้ายไอออนผ่านเปลือกไข่เข้าสู่ไข่สดได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ความแปรปรวนของปริมาณไอโอดีนใน ไข่สดเริ่มต้น จะส่งผลให้ปริมาณไอโอดีนในไข่สดหลังการเสริมไอโอดีนมีความแปรปรวนเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ยังสังเกตเห็นแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของปริมาณไอโอดีนในไข่สดหลังการเสริมไอโอดีนด้วยกระบวนการที่ควบคุม ทิศทางการเคลื่อนย้ายไอออนได้