Abstract:
งานวิจัยนี้ทำการเตรียมซิลิกาจากเถ้าแกลบ จากนั้นดัดแปรซิลิกาที่ได้ด้วยออกไซด์ของเหล็กและทองแดง เพื่อใช้เป็นตัวดูดซับอาร์ซีเนตในน้ำเสีย พิสูจน์เอกลักษณ์ซิลิกาจากเถ้าแกลบด้วยเทคนิค FTIR, SEM, TEM, XRD, XRF, PSD และ N2 adsorption ซิลิกาที่สังเคราะห์ได้จากเถ้าแกลบเป็นซิลิกาอสัณฐานมีความบริสุทธิ์สูงถึง 97% ขนาดอนุภาคของซิลิกามีค่าประมาณ 52 ไมโครเมตร ปริมาตรของโพรงเท่ากับ 0.323 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัม พื้นที่ผิวทั้งหมดคิดเป็น 671 ตารางเมตรต่อกรัม และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของโพรง 1.93 นาโนเมตร ซึ่งการ ดัดแปรซิลิกาที่เตรียมจากเถ้าแกลบทำได้โดยนำซิลิกาที่สังเคราะห์ได้มาตกตะกอนร่วมกับออกไซด์ของเหล็กและ ทองแดง และพิสูจน์เอกลักษณ์วัสดุที่ได้ด้วยเทคนิค SEM, EDS และ XRD สำหรับประสิทธิภาพในการกำจัดอาร์ซี เนตของตัวดูดซับที่สังเคราะห์ขึ้น พบว่าปริมาณอาร์ซีเนตสูงสุดที่ถูกดูดซับบนซิลิกาที่ผ่านการดัดแปรด้วยออกไซด์ ของเหล็กและทองแดงมีค่าเท่ากับ 9.3 มิลลิกรัมต่อกรัม โดยกระบวนการดูดซับเกิดได้ดีภายใต้สภาวะพีเอชเท่ากับ 3 และใช้เวลาในการเข้าสู่สมดุลการดูดซับประมาณ 24 ชั่วโมง การเข้าสู่สมดุลเป็นไปตามจลนพลศาสตร์การดูดซับ แบบอันดับสองเทียม และไอโซเทิร์มการดูดซับเป็นไปตามสมดุลการดูดซับของแบบจำลองฟรุนดลิช และสามารถ ใช้ซิลิกาที่ดัดแปรด้วยออกไซด์ของเหล็กและทองแดงในการกำจัดอาร์ซีเนตในน้ำเสียตัวอย่างจริง