Abstract:
สังเคราะห์อนุพันธ์ 8-อะมิโนควิโนลีน 3 ชนิด ที่มีชนิดของเฮเทอโรอะตอมที่ปลายหมู่อะซิทิลที่แตกต่าง กัน คือ อะตอมไนโตรเจน (NAQ), อะตอมออกซิเจน (OAQ) และ อะตอมซัลเฟอร์ (SAQ) นาไปทดสอบการ ตอบสนองของสัญญาณฟลูออเรสเซนซ์กับไอออนโลหะ สารทั้งสามชนิดให้สัญญาณฟลูออเรสเซนซ์ในช่วงสีเขียว จนถึงสีเหลือง (λem 490-520 nm) อย่างจาเพาะเจาะจงกับไอออนสังกะสีและแคดเมียมในเอทานอล ซึ่ง ไอออนสังกะสีให้การเพิ่มขึ้นของสัญญาณฟลูออเรสเซนซ์ที่มากกว่าไอออนแคดเมียม การขยายสัญญาณเกิดขึ้น ได้จากการยับยั้งกระบวนการคายพลังงานแบบไม่ให้แสง PET และ ESIPT ไอออนสังกะสีให้การขยายสัญญาณ ฟลูออเรสเซนซ์ที่มากกว่าเป็นตัวบ่งชี้ว่าลิแกนด์มีความชอบเกิดอันตรกิริยากับกรดลิวอิสที่สูงกว่า ในจานวนทั้ง สามลิแกนด์ SAQ ให้อัตราส่วนการเพิ่มสัญญาณฟลูออเรสเซนต์ที่สูงที่สุด (I/I0) ในขณะที่ค่าประสิทธิภาพการ เรืองแสงต่าที่สุดทั้งก่อนและหลังการเติมไอออนโลหะ จากผลนี้ SAQ อาจใช้ความเข้มข้นที่สูงขึ้น เพื่อเพิ่มความ ว่องไวต่อการตรวจวัดไอออนโลหะและการใช้เป็นสีย้อมในเซลล์ (imaging) ผลึกเดี่ยวของ NAQ-Zn²⁺ และ NAQ-Cd²⁺ ยืนยันการโคออร์ดิเนชั่นระหว่าง NAQ กับไอออนสังกะสีและแคดเมียม ด้วยเทคนิค single-crystal X-ray crystallography เป็นแบบพีระมิดฐานสี่เหลี่ยมแบบบิดเบี้ยว และทรงแปดหน้า ตามลาดับ และ NAQ ยังเชื่อมพันธะกับไอออนโลหะอีกตัวเกิดเป็นสายพอลิเมอร์หนึ่งมิติ ส่วนวงเบนซีนและไพริดีนของส่วนควิโนลีน แต่ละวงยังเชื่อมพันธะ ไพ-ไพ จัดเรียงกันเป็นสายพอลิเมอร์สองมิติ