Abstract:
La₀.9Sr₀.₁Ga₀.₈Mg₀.₂O₃-δ (LSGM) ถูกใช้เป็นสารอิเล็กโทรไลต์สาหรับเซลล์เชื้อเพลิงชนิดออกไซด์แข็งที่ ใช้งานในช่วงอุณหภูมิ 800-1000 องศาเซลเซียส เพื่อลดความต้านทานทางไฟฟ้าของเซลล์ จึงทาการพัฒนา อิเล็กโทรไลต์ LSGM ให้มีพื้นที่ผิวเพิ่มขึ้นโดยทาการเคลือบสาร LSGM ที่มีรูพรุนบนพื้นผิวของแผ่นอิเล็กโทรไลต์ ทาการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรูพรุนได้แก่ ผลของวิธีการเคลือบขั้วไฟฟ้าบนรูพรุน อัตราส่วนของสารเกิดรูพรุน คือผง LSGM และ rice starch และอุณหภูมิที่ใช้ในการ sintering เพื่อเกิดรูพรุน การพิสูจน์เอกลักษณ์และ ลักษณะทางกายภาพของแผ่นอิเล็กโทรไลต์ที่ทาการพัฒนา ด้วยวิธีเอ็กซเรย์พาวเดอร์ดิฟแฟรกชัน (XRD), การวัด ค่าความต้านทานไฟฟ้า (EIS) และเทคนิคกล้องจุลทรรศน์ชนิดส่องกราด (SEM) จากผลการทดลองพบว่าเซลล์ เชื้อเพลิงที่ผ่านการพัฒนาพื้นผิวของแผ่นอิเล็กโทรไลต์ด้วย 40 เปอร์เซ็นต์ rice starch และ sintering ที่ 1450 องศาเซลเซียส มีค่าความต้านทานต่าสุดประมาณ 3.56 โอห์มต่อตารางเซนติเมตร ในการวัดประสิทธิภาพของ เซลล์เดี่ยวให้ค่ากาลังไฟฟ้าสูงสุดที่ 649.37 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งสูงกว่าเซลล์เชื้อเพลิงที่ไม่ได้ทาการ เพิ่มพื้นที่ผิวบนแผ่นอิเล็กโทรไลต์ซึ่งมีค่าเท่ากับ 319.91 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร