Abstract:
การพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดฐานกระดาษเชิงสีที่มีความไวและความจำเพาะเจาะจงสูงสำหรับการวิเคราะห์หาปริมาณอะม็อกซีซิลลิน ระบบการตรวจวัดอาศัยการรวมตัวของอนุภาคนาโนของเงินในสารละลายฟอสเฟสบัฟเฟอร์กับอะม็อกซีซิลลินจากกระบวนการสลายโมเลกุล ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของอนุภาคนาโนของเงินจากสีชมพูไปเป็นสีม่วงและการดูดกลืนสเปกตรัมของแสงของอนุภาคนาโนเงินที่ความยาวคลื่น 525 นาโนเมตรลดลง แล้วยังปรากฎสเปกตรัมใหม่ในช่วงความยาวคลื่น 600 ถึง 700 นาโนเมตรเมื่อมีปริมาณของอะม็อกซีซิลลินจากกระบวนการสลายโมเลกุลเพิ่มมากขึ้น อุปกรณ์ตรวจวัดฐานกระดาษเชิงสีเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานง่ายและรวดเร็วสำหรับการวิเคราะห์อะม็อกซีซิลลินโดยอาศัยการรวมตัวของอนุภาคนาโนของเงิน สำหรับอุปกรณ์นี้ถูกสร้างขึ้นมาด้วยเทคนิคการพิมพ์ขี้ผึ้งลงบนกระดาษ เมื่ออะม็อกซีซิลลินจากกระบวนการสลายโมเลกุลทำปฎิกิริยากับอนุภาคนาโนของเงินที่อยู่บริเวณการตรวจวัดบนกระดาษ จะเกิดการเปลี่ยนสีจากสีชมพูเป็นสีม่วงซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า นอกจากนี้ยังมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการวิเคราะห์หาปริมาณอะม็อกซีซิลลิน ประกอบไปด้วย ความเป็นกรด-เบส ขนาดของอนุภาคนาโนของเงิน ความเข้มข้นของอนุภาคนาโนของเงิน และผลของปริมาตรกรดไฮโดรคลอริก สำหรับการตรวจวัดเชิงปริมาณของอะม็อกซีซิลลินภายใต้ภาวะที่เหมาะสมโดยใช้ขบวนการการถ่ายภาพ ผลการทดลองที่ได้พบว่ากราฟเส้นตรงในช่วงความเข้มข้นของอะม็อกซีซิลลินที่ 10 ไมโครโมลาร์ ถึง 40 ไมโครโมลาร์ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ 0.9921 ซึ่งมีขีดจำกัดในการตรวจวัด (S/N=3) และขีดจำกัดในการตรวจวัดเชิงปริมาณ (S/N=10) ในการตรวจวัดอะม็อกซีซิลลินเท่ากับ 1.34 ไมโครโมลาร์ และ 4.47 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ ในงานวิจัยนี้ประสบความสำเร็จในการตรวจวัดอะม็อกซีซิลลินในตัวอย่างเภสัชภัณฑ์ ซึ่งผลที่ได้จากอุปกรณ์นี้พบเมื่อทำการคำนวณหาค่าพิจารณาค่าความแตกต่างแบบจับคู่ ค่าที่ได้มีค่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญได้เมื่อเทียบกับค่าระบุจากผู้ผลิต