dc.contributor.advisor |
สนอง เอกสิทธิ์ |
|
dc.contributor.author |
พราวตะวัน ตันไพรนิช |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-03-14T03:52:48Z |
|
dc.date.available |
2022-03-14T03:52:48Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78219 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 |
en_US |
dc.description.abstract |
การศึกษาวัสดุที่มีคุณสมบัตินำไปสู่การเข้าถึงระบบขนาดเล็กนั้นได้รับความสนใจและเชื่อมโยงเข้ากับ ชีวิตประจำวัน การศึกษา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ การนำเลนส์ที่มีกำลังขยายไปใช้งานร่วมกับ สมาร์ตโฟนซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน อาจเป็นอุปกรณ์ที่ง่ายที่สุดที่จะทำให้ เข้าถึงข้อมูลของระบบขนาดเล็ก เพื่อศึกษาและสามารถจัดการกับระบบเหล่านั้นได้ ในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธี ขึ้นรูปเลนส์จุลทรรศน์ขนาดเล็กหรือไมโครเลนส์อย่างง่ายผ่านเทคนิคการหยดแบบตรึงที่จำกัดขอบเขต โดยใช้ พอลิไดเมทิลไซลอกเซนหรือพีดีเอ็มเอส เริ่มจากการเตรียมวัสดุรองรับไมโครเลนส์ ซึ่งทำได้โดยนำอะคริลิกเรียบ รูปวงกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.00-5.00 มิลลิเมตร ติดกับกระจกสไลด์ แล้วนำไปให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส หลังจากเตรียมฐานสำหรับขึ้นรูปเลนส์แล้ว จึงนำพีดีเอ็มเอสเหลวใสที่ปราศจากฟองอากาศไป หยดเหนือผิวหน้าของฐานอะคริลิก พีดีเอ็มเอสที่มีความหนืดนั้นจะกระจายตัวไปอย่างช้า ๆ บนฐานที่มีขอบคม ก่อนจะเกิดเป็นทรงกลมที่มีความโค้ง หลังจากให้ความร้อน 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5-7 นาที พีดีเอ็มเอส- เหลวจะเปลี่ยนสภาพเป็นพีดีเอ็มเอสอีลาสโตเมอร์ที่มีรูปร่างแบบเลนส์นูนแกมระนาบ ในการศึกษา อิทธิพล เส้นผ่านศูนย์กลางของฐานอะคริลิก และปริมาตรของพีดีเอ็มเอสพบว่าไมโครเลนส์ที่ขึ้นรูปได้มีระยะโฟกัส 2.0-8.0 มิลลิเมตร และมีกำลังขยาย 31.3-125.0 เท่า (เลนส์ที่มีฐานขนาดเล็กกว่าจะทำให้ได้ระยะโฟกัสที่สั้นกว่า และมีกำลังขยายสูงกว่า) เมื่อนำเลนส์พีดีเอ็มเอสอีลาสโตเมอร์ไปติดกับกล้องของสมาร์ตโฟน จะทำให้ได้ กล้องจุลทรรศน์แบบดิจิทัลที่สามารถบันทึกทั้งภาพและวิดีโอวัตถุขนาดเล็กอย่างมีประสิทธิภาพได้ โดย งานวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นที่การพัฒนาวิธีการขึ้นรูปไมโครเลนส์ที่ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ กระบวนการผลิตรวดเร็ว ไม่ซับซ้อน และควบคุมคุณภาพได้ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The studies of material properties in microscale have attached much attention in daily life education, science and medical technology. A magnifying lens coupled with a smartphone, the most popular electronics device at the moment, is the simplest tool to access microscopic information which enables the study and manipulation at the microscales. In this study, we presented the facile protocol for the fabrication of the microlens via “Sessile Drop Casting Technique”. Polydimethylsiloxane (PDMS) was used as the raw material to fabricate the microlens. The flat circular poly (methyl methacrylate) (PMMA) disk with the diameter in the range of 2.00-5.00 mm attached on glass slide and heated at 90 °C was employed as a microlens substrate. After heating microlens substrate, the clear liquid PDMS without residual air bubbles was dropped on the top of substrate. Due to its high viscosity the PDMS, it slowly spread toward the sharp edge of the disk and induced a formation of spherical cap. After thermal curing at 90 °C for 5-7 min, liquid PDMS was transformed to elastomeric PDMS planoconvex lens. By varying the diameter of PMMA disk and the volume of liquid PDMS, microlenses with focal length of 2.0-8.0 mm and magnifications of 31.3X-125.0X (smaller disk causes shorter focal length and higher magnification) were obtained. When the PDMS elastomeric lens was attached onto a smartphone camera, it transformed into a smartphone digital microscope which can take both of high quality digital images and videos. The advantages of our developed protocol are low cost, rapid, and easy manufacturing process with controllability. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
กล้องจุลทรรศน์ |
en_US |
dc.subject |
เลนส์ |
en_US |
dc.subject |
โพลิไดเมทิลไซลอกเซน |
en_US |
dc.subject |
Polydimethylsiloxane |
en_US |
dc.subject |
Microscopes |
en_US |
dc.subject |
Lenses |
en_US |
dc.title |
การขึ้นรูปเลนส์พีดีเอ็มเอสอีลาสโตเมอร์กำลังขยายสูงสำหรับกล้องจุลทรรศน์สมาร์ตโฟน |
en_US |
dc.title.alternative |
Fabrication of High Magnification PDMS elastomeric Lens for Smartphone Microscope |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |