dc.contributor.advisor | นำพล อินสิน | |
dc.contributor.author | กาญจนาภา ด้วงนคร | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2022-03-15T08:40:13Z | |
dc.date.available | 2022-03-15T08:40:13Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78261 | |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 | en_US |
dc.description.abstract | ปัจจุบันระบบนำส่งวัคซีนรูปแบบอนุภาคนาโนเริ่มเป็นที่สนใจในการนำมาใช้ในการพัฒนาวัคซีนมากขึ้น เนื่องจากสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของวัคซีนได้หรือมีสมบัติเป็นสารเสริมฤทธิ์วัคซีน งานวิจัยนี้จึงได้ทำการสังเคราะห์นาโนคอมพอสิตของอนุภาคนาโนอะลูมินาซึ่งมีสมบัติเป็นสารเสริมฤทธิ์วัคซีนและอนุภาคนาโนเหล็กออกไซด์ที่สามารถแสดงปรากฎการณ์ superparamagnetic หรือสามารถถูกเหนี่ยวนำโดยสนามแม่เหล็กภายนอกไปยังบริเวณเป้าหมายได้โดยยังมีความเสถียรทางคอลลอยด์ โดยทำการสังเคราะห์นาโนคอมพอสิตทั้งหมด 2 แบบด้วยกัน คือ แบบ core-shell ที่มีอนุภาคนาโนเหล็กออกไซด์เป็นส่วน core และอะลูมินาเป็นส่วน shell และแบบอนุภาคนาโนเหล็กออกไซด์ตกแต่งบนผิวของอนุภาคนาโนอะลูมินา พบว่านาโนคอมพอสิตแบบ core-shell มีขนาด 20 นาโนเมตร และแบบอนุภาคนาโนเหล็กออกไซด์ตกแต่งบนอนุภาคนาโนอะลูมินามีขนาดประมาณ 200 และ 400 นาโนเมตร ซึ่งนาโนคอมพอสิตทั้ง 2 แบบสามารถแสดงปรากฎการณ์ superparamagnetic ได้ จากผลการทดสอบความเป็นพิษต่อเดนไดร ติคเซลล์ พบว่าที่ความเข้มข้น 10 และ 30 μg/mL นาโนคอมพอสิตทั้ง 2 แบบนั้นมีความเป็นพิษต่อเซลล์ต่ำ และจากการทดสอบหาปริมาณ Cytokine ที่เซลล์ผลิต (IL-12, IFN-γ) เพื่อกระตุ้นให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันกำจัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย พบว่านาโนคอมพอสิตแบบอนุภาคนาโนเหล็กออกไซด์ตกแต่งบนอนุภาคนาโนอะลูมินาขนาด 200 นาโนเมตร มีแนวโน้มที่จะสามารถกระตุ้น IL-12 ได้ และขนาด 400 นาโนเมตรมีแนวโน้มที่จะสามารถกระตุ้น IFN- γ ได้ แต่จำเป็นต้องมีการทดลองซ้ำและเพิ่มเติมเพื่อหาข้อสรุปสมบัติการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ชัดเจน | en_US |
dc.description.abstractalternative | Nowadays, nanoparticle-based vaccine carriers become interesting materials to be used in vaccine development because they can enhance vaccine efficacy as they can act as vaccine adjuvants. In this work, nanocomposites of alumina nanoparticle, which has been reported as a vaccine adjuvant, and iron oxide nanoparticles, which exhibit superparamagnetic behavior or able to be induced by an external magnetic field to the targeted area, were synthesized in two approaches. The first approach is a core-shell particle that has iron oxide nanoparticle as its core and alumina as its shell. The second one is iron oxide nanoparticle-decorated alumina nanoparticle. It was found that the core-shell particles were in the size of 20 nm, and the iron oxide nanoparticle-decorated particles were in the size of around 200 and 400 nm. Both types of nanocomposites can exhibit superparamagnetic behavior. From cytotoxicity study on dendritic cells, at the concentration of 10 and 30 μg/mL, both types of the nanocomposites showed low cytotoxicity. Moreover, from the quantitative analysis of cytokine (IL-12, IFN- γ) that the cells produced to activate immune cells to eliminate any foreign matter in the body, it was found that iron oxide nanoparticle-decorated composites with the size of 200 nm showed a tendency to stimulate IL-12 production, and with the size of 400 nm showed some signals of IFN- γ stimulation, but further and repeated studies have to be done to make a conclusion on their immune stimulation properties. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | อนุภาคนาโน | en_US |
dc.subject | ระบบนำส่งยา | en_US |
dc.subject | Nanoparticles | en_US |
dc.subject | Drug delivery systems | en_US |
dc.title | การสังเคราะห์คอมพอสิตของอนุภาคนาโนอะลูมินาและเหล็กออกไซด์และการทดสอบความเป็นสารเสริมฤทธิ์วัคซีน | en_US |
dc.title.alternative | Synthesis of composites of alumina and iron oxide nanoparticles and study of their vaccine adjuvant properties | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |