Abstract:
งานวิจัยนี้รายงานการสังเคราะห์วัสดุไมโครพอรัสไททาโนซิลิคาไลต์-1 (TS-1) วัสดุเมโซพอรัสไททาโนซิลิ คาไลต์-1 (MTS-1) และวัสดุซิลเวอร์ออกไซด์/เมโซพอรัสไททาโนซิลิคาไลต์-1 (Ag-MTS-1) โดยวิธีไฮโดร เทอร์มัลและประยุกต์ใช้Iเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์สำหรับดีซัลเฟอร์ไรเซชันของน้ำมันต้นแบบ วัสดุเหล่านี้ ได้รับการพิสูจน์เอกลักษณ์ด้วยเทคนิคเอ็กซเรย์ดิฟแฟรกชัน เทคนิคสแกนนิ่งอิเล็คตรอนไมโครสโกปีเทคนิค การดูดซับและการคายซับด้วยแก๊สไนโตรเจน และเทคนิคดิฟฟิวส์รีเฟลกแทนซ์ยูวีวิสิเบิลสเปกโทรสโกปี ผล การพิสูจน์เอกลักษณ์พบว่า ปริมาตรรูพรุนชนิดเมโซพอรัสในวัสดุ TS-1 (0.12 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัม) ถูกพบในสัดส่วนที่น้อยกว่าในวัสดุ MTS-1 (0.16 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัม) และวัสดุ Ag-MTS-1 (0.15 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัม) โดยมีสาเหตุหลักมาจากการใช้พอลิเมอร์ชนิดพอลิไดเอลิวไดเมทิลแอมโมเนียม คลอไรด (PDADMAC) เป็นแม่แบบรูพรุนชนิดเมโซพอรัสในการสังเคราะห์วัสดุ MTS-1 และ Ag-MTS-1 นอกจากนี้ผลการพิสูจน์เอกลักษณ์ยังบ่งชี้ว่า โครงสร้างหลักของวัสดุยังคงถูกรักษาไว้ได้ภายหลังการขยายรู พรุนของวัสดุด้วยพอลิเมอร์ PDADMAC จากนั้นวัสดุที่สังเคราะห์ ได้ถูกทดสอบความสามารถในการเป็น ตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ สำหรับปฏิกิริยาออกซิเดถีฟดีซัลเฟอร์ไรเซชันโดยใช้สารละลายไดเบนโซไทโอฟินที่มี ความเข้มข้นของซัลเฟอร์ เท่ากับ 200 มิลลิกรัมต่อลิตรในโดเดคเคนเป็นน้ำมันต้นแบบ ทำการทดลองภายใต้ สภาวะเดียวกัน คือ สารละลายไดเบนโซไทโอฟินในโดเดคเคน 24 มิลลิลิตร เทอร์ท-บิวทิลไฮโดรเปอร์ ออกไซด 38 ไมโครลิตร อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เวลาในการทำปฏิกิริยา 0-5 ชั่วโมง และใชIวัสดุที่ สังเคราะห์ได้ 0.012 กรัมเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ผลการทดลองพบว่า ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของไดเบนโซไท โอฟินเมื่อใชIวัสดุ TS-1 MTS-1 และ Ag-MTS-1 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเท่ากับร้อยละ 61 ร้อยละ 84 และ ร้อย ละ 86 ตามลำดับ โดยสาเหตุที่การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา MTS-1 และ Ag-MTS-1 ให้ค่าร้อยละการเปลี่ยนแปลง ของไดเบนโซไทโอฟินสูงกว่าน่าจะเป็นเพราะการมีปริมาตรรูพรุนชนิดเมโซพอรัสที่มากกว่านำไปสู่การถ่าย โอนมวลของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ผลการทดลองยังบ่งชี้ว่า การเติม ซิลเวอร์ บนพื้นผิวของวัสดุ MTS-1 (Ag-MTS-1) มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มขึ้นของอัตราการเปลี่ยนแปลงได เบนโซไทโอฟินซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยการดูดซับที่ดีระหว่างไดเบนโซไทโอฟินและซิลเวอร์บนพื้นผิวของ ตัวเร่งปฏิกิริยาตามทฤษฎีของ Hard and Soft Acids and Bases (HSAB)