Abstract:
การศึกษาความสัมพันธ์ของสมบัติของเขม่าดำที่มีผลต่อสมบัติของยางคอมพาวด์จากการผลิต เช่นมอดูลัส การสูญเสียพลังงาน เวลาในการเกิดวัลคาไนซ์ของยาง เขม่าดำแบ่งได้หลายเกรด ในงานวิจัยนี้จะศึกษาเขม่าดำเกรด N234 และ N550 ซึ่งมีโครงสร้าง ขนาด และพื้นที่ผิวในการเกิดปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน โดยจะใช้เทคนิคการวัดค่าการดูดซับของน้ำมันบนพื้นที่ผิวเขม่าดำเป็นวิธีหลักการติดตามและบ่งบอกถึงโครงสร้าง และพื้นที่ผิวในการเกิดปฏิกิริยา โดยพบว่าเขม่าดำไม่มีผลอย่างชัดเจนต่อการผลิตยางคอมพาวด์ในช่วงเวลาที่ศึกษา การสอบทวนกลับข้อมูลเขม่าดำในสายการผลิตทำให้ได้ค่าขอบเขตเตือนของการดูดซับน้ำมันของเขม่าดำเกรด N550 ที่ 115 และ 123 มิลลิลิตรต่อเขม่าดำ 100 กรัม และการผลิตยางคอมพาวด์ที่มีการควบคุมเขม่าดำ พบว่าเขม่าดำเกรด N234 มีค่าการดูดซับน้ำมันที่แปรผันตรงกับมอดูลัสของยางคอมพาวด์ แต่ผกผันกับการสูญเสียพลังงานและเวลาในการเกิดวัลคาไนซ์ ในขณะที่เขม่าดำเกรด N550 แสดงให้เห็นว่าค่าการดูดซับน้ำมันจะแปรผันตรงกับทั้งมอดูลัสและการสูญเสียพลังงานของยางคอมพาวด์