dc.contributor.author |
นิพาดา เรือนแก้ว ดิษยทัต |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-03-28T10:29:16Z |
|
dc.date.available |
2022-03-28T10:29:16Z |
|
dc.date.issued |
2557 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78348 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาโครงสร้างของสังคมพืชในป่าเต็งรังตามธรรมชาติและพื้นที่ฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-สระบุรี อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ฟื้นฟูด้วยการปลูกต้นกล้าสักสยามินทร์ และพื้นที่ฟื้นฟูด้วยต้นกล้าวงศ์ยางนาที่ชุบรากในเชื้อไมคอร์ไรซา การเก็บข้อมูลโครงสร้างสังคมพืชพบไม้ยืนต้นในพื้นที่ป่าเต็งรังธรรมชาติ จำนวน 24 ต้น 3 ชนิด ได้แก่ รัง (Dipterocapus siamensis) โมก (Wrightea arborea) และ แสลงใจ (Strychnos nux-vomica) ไม้ยืนต้นที่พบมีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกระหว่าง 2.9-16.5 เซนติเมตร มวลชีวภาพเหนือพื้นดินของพื้นดินของไม้ยืนต้นและพืชคลุมดิน 53.01 ตันต่อเฮกแตร์ แสดงให้เห็นว่าป่าเต็งรังนี้กำลังฟื้นตัวจากการรบกวนในอดีต พื้นที่ฟื้นฟูด้วยต้นกล้าสัก (Tectona grandis) พบต้นกล้า 9 ต้นซึ่งมีอัตราการอยู่รอดร้อยละ 100 จากเดือนมีนาคม ถึงกันยายน 2557 และพื้นที่ฟื้นฟูด้วยต้นกล้าวงศ์ยางนา พบต้นกล้าตะเคียน (Hopea odorata) และต้นกล้ายางนา (Dipterocarpus alatus) ซึ่งมีอัตราการอยู่รอดร้อยละ 89 และ 64 ตามลำดับ พื้นที่ฟื้นฟูทั้ง 2 บริเวณมีการปกคลุมของพืชคลุมดินตลอดระยะเวลาการศึกษา และมีมวลชีวภาพของพืชคลุมดินเฉลี่ยระหว่าง 0.19-1.81 ตันต่อเฮกแตร์ ลักษณะทางกายภาพของดินและปริมาณธาตุอาหารในดินมีความแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ การติดตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมพืชจะเป็นตัวชี้วัดแสดงถึงผลของการฟื้นฟูระบบนิเวศ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This study monitored characteristics of plant community structure of a natural dry dipterocarp forest and forest restoration areas planted with either teak or dipterocarp seedlings infected with ectomycorrhiza in the Chulalongkorn University-Saraburi Area, Kangkhoi District, Saraburi Province. Twenty-four trees of 3 species, namely: Dipterocapus siamensis, Wrightea arborea and Strychnos nux-vomica were recorded in the natural dry dipterocarp forest plot. These trees are small, with 2.9-16.5 cm DBH, and the calculated aboveground biomass of tree and ground cover layers was 53.01 ton/ha, suggesting that the forest was recovering from previous disturbances. The teak restoration plot contained 9 teak seedlings, all of which survived through the March-September 2014 study period. The diperocarp restoration plot was transplanted with seedlings of Hopea odorata and Dipterocarpus alatus, with the survivorship rates of 89 and 64 percent, respectively. Both restoration plots were covered with 0.19-1.81 ton/ha aboveground biomass of ground cover vegetation. Soil physical factors and nutrient amounts varied among different plots. Monitoring the changes in plant community structure will indicate the outcome of forest restoration efforts. |
en_US |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2557 |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
สังคมพืช |
en_US |
dc.subject |
การจัดการระบบนิเวศ -- ไทย -- สระบุรี |
en_US |
dc.subject |
นิเวศวิทยาป่าไม้ |
en_US |
dc.subject |
Plant communities |
|
dc.subject |
Ecosystem management -- Thailand -- Saraburi |
|
dc.subject |
Forest ecology |
|
dc.title |
โครงสร้างสังคมพืชในพื้นที่ฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-สระบุรี อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี : รายงานผลการดำเนินงาน |
en_US |
dc.title.alternative |
Plant community structure in ecosystem restoration area in Chulalongkorn University-Saraburi area, Kaeng Khoi District, Saraburi province |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |