dc.contributor.advisor |
พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา |
|
dc.contributor.advisor |
ต่อศักดิ์ สีลานันท์ |
|
dc.contributor.author |
มนต์สวรรค์ ปัญควณิช |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-04-20T01:43:04Z |
|
dc.date.available |
2022-04-20T01:43:04Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78392 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 |
en_US |
dc.description.abstract |
กล้วยไม้พืชใบเลี้ยงเดี่ยวเป็นพืชที่มีวิวัฒนาการและการปรับตัวอย่างสูงในหลายรูปแบบ เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้สุขภาพของระบบนิเวศได้อีกด้วย โดยในประเทศไทยนั้นได้มีการศึกษาเกี่ยวกับกล้วยไม้ในหลายพื้นที่ และในบางพื้นที่ก็ได้มีการทำการศึกษาไปส่วนหนึ่งแล้วเช่นในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิดของกล้วยไม้บริเวณทางขึ้นและพื้นที่ลานสนในอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยทำการเก็บตัวอย่างในเดือนกุมภาพันธ์และเดือนกันยายน 2562 และเดือนมกราคม 2563 พบกล้วยไม้ทั้งหมด 3 วงศ์ย่อย 14 สกุล 21 ชนิด ได้แก่ Cypripedioideae พบ 1 สกุล 1 ชนิด Epidendroideae พบ 8 สกุล 15 ชนิด ไม่สามารถระบุชนิดได้ 2 ตัวอย่าง และ Orchidoideae พบ 5 สกุล 6 ชนิด ไม่สามารถระบุชนิดได้ 1 ตัวอย่าง เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย 12 ชนิด กล้วยไม้ดิน 7 ชนิด 2 สกุล กล้วยไม้ขึ้นบนหิน 1 ชนิดและกล้วยไม้อาศัยรา 1 ชนิด โดยสกุลที่พบมากที่สุดคือ Bulbophyllum และ Dendrobium และยังไม่สามารถระบุสกุลหรือชนิดได้อีก 3 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกล้วยไม้กับปัจจัยทางนิเวศ ซึ่งได้แก่ ความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกของต้นไม้ที่กล้วยไม้อิงอาศัยเจริญอยู่ และเปอร์เซ็นต์การปกคลุมชั้นเรือนยอด พบว่ากล้วยไม้มีความสัมพันธ์กับเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอก เช่นเดียวกันกับเปอร์เซ็นต์การปกคลุมชั้นเรือนยอด แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความสูง ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ ภูสอยดาวนั้นมีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะแก่การเจริญของกล้วยไม้ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Orchids belong to the monocotyledonous flowering plants with diverse adaptation and are economically important. Besides, orchids can be indicative for ecosystem health. There have been several reports on orchid diversity in whole or in part of conserved area throughout Thailand. To further researches, orchid diversity had been conducted along the trail to and around the plateau of Phu Soi Dao National Park, Uttraradit Province during February 2019 to January 2020. Total of 21 species in 14 genera from 3 subfamilies of Orchidaceae were found. Specifically, these included one species from Cypripedioideae, 15 species in 8 genera from Epidendroideae, and 6 species in 5 genera from Orchidoideae; of these 3 are unidentifiable. There are 7 terrestrial orchids, 12 epiphytic orchids, 1 lithophytic orchid and 1 mycoheterotrophic orchid. Bulbophyllum and Dendrobium were present in higher number of species. There are moderate correlations between the presence of orchids and the diameter at breath height of host plants as well as canopy percentages but no correlation with elevation. It was indicated that Phu Soi Dao National Park is still luxuriant and suitable for orchid inhabiting. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
กล้วยไม้ -- ไทย -- อุตรดิตถ์ |
en_US |
dc.subject |
ความหลากหลายของพืช |
en_US |
dc.subject |
Orchids -- Thailand -- Uttaradit |
en_US |
dc.subject |
Plant diversity |
en_US |
dc.title |
ความหลากชนิดของกล้วยไม้บริเวณทางขึ้นและพื้นที่ลานสนในอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว จังหวัดอุตรดิตถ์ |
en_US |
dc.title.alternative |
Species of orchids along the nature trail and around plateau of Phu Soi Dao National Park, Uttaradit Province |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |