Abstract:
โครงงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนในประเทศไทย โดยการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและความเข้มข้นของฝุ่นละออง และ ประยุกต์ใช้การกระจายตัวเชิงความถี่และขนาดของเหตุการณ์ (Frequency – Magnitude Distribution: FMD) เพื่อสร้างความสัมพันธ์การกระจายตัวเชิงความถี่และความเข้มข้นของฝุ่นละออง ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและความเข้มข้นของฝุ่นละอองทำให้สามารถแบ่งข้อมูลได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ชุดข้อมูลที่ฝุ่นละอองมีความเข้มข้นสูงในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ โดยส่วนมากเป็นสถานี ทางภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย เนื่องจากฝุ่นละอองข้ามพรมแดนจากประเทศกัมพูชา และ ปัจจัยทางด้านอุตุนิยมวิทยาในช่วงเวลาดังกล่าว และชุดข้อมูลที่ฝุ่นละอองมีความเข้มข้นสูงในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน โดยส่วนมากเป็นสถานีทางภาคเหนือของประเทศไทย เนื่องจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน บริเวณดังกล่าว และฝุ่นละอองข้ามพรมแดนจากประเทศเมียนมาร์ และลาว สำหรับความสัมพันธ์การกระจาย ตัวเชิงความถี่และความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนสามารถจัดทำแผนที่การกระจายตัว ของค่า a และ b ,แผนที่ความเข้มข้นของฝุ่นละอองสูงสุดที่สามารถเกิดได้ ในช่วงเวลาที่สนใจ ,แผนที่คาบอุบัติ ซ้ำของฝุ่นละออง และแผนที่แสดงโอกาสในการเกิดฝุ่นละออง พบว่าข้อมูลที่ได้มีความสอดคล้องกัน บริเวณที่มี ค่า b ต่ำซึ่งสามารถบ่งชี้ได้ในเบื้องต้นว่ามีโอกาสสูงที่จะเกิดฝุ่นละอองความเข้มข้นสูง จะมีค่าความเข้มข้นของ ฝุ่นละอองสูงสุดที่สามารถเกิดขึ้นได้สูง มีช่วงเวลาในการเกิดคาบอุบัติซ้ำน้อย และมีโอกาสในการเกิดฝุ่นละออง ความเข้มข้นสูงมาก ซึ่งบริเวณที่มีค่า b ต่ำได้แก่ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง บางส่วนของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และบางส่วนของภาคตะวันออก โดยบริเวณภาคเหนือมีโอกาสในการเกิดฝุ่นละอองความ เข้มข้นสูงมากที่สุด เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินของคนในพื้นที่ รวมไปถึงลักษณะภูมิประเทศที่ เป็นแอ่งกระทะ