Abstract:
ลุ่มน้ำปิง เป็นลุ่มน้ำสาขาใน 8 ลุ่มน้ำสาขาหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนในท้องที่ พื้นที่แม่น้ำปิงจะได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำและน้ำท่วมพื้นที่อยู่บ่อยครั้ง ทั้งพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเกษตร โดยคาดว่าปัญหาน้ำท่วมน่าจะเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนบริเวณตลิ่งและบริเวณท้องน้ำ ส่งผลให้แม่น้ำแคบลง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะธรณีสัณฐานของแม่น้ำ จัดทำแผนที่แสดงอัตราการกัดกร่อนและการสะสมตัวของตะกอนริมฝั่งแม่น้ำ และเปรียบเทียบปริมาณตะกอนที่สะสมในแม่น้ำระหว่างปี 2007 และปี 2017 โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 วิธี คือ ทางภาพถ่ายทางดาวเทียม บันทึกภาพเมื่อ ค.ศ. 2007 และ 2017 และศึกษาข้อมูลโดยการใช้โปรแกรม DSAS ผลการวิเคราะห์จากภาพถ่ายทางดาวเทียมพบว่ามีการเปลี่ยนของเส้นแนวชายฝั่งมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างน้อย ในช่วงต้นของแม่น้ำที่ถัดลงมาจากเขื่อนมีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยมาก แทบไม่มีการสะสมของตะกอน ทั้งตะกอนริมฝั่งแม่น้ำและตะกอนกลางแม่น้ำ ในขณะที่ช่วงที่มีฝายกันน้ำจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีสันฐานที่ชัดเจนขึ น มีการสะสมตัวของตะกอนมาก จากการศึกษาพบว่าพื้นที่ตะกอนกลางแม่น้ำปิงตอนต้นมีเพิ่มมากขึ นถึง 8.4 % โดยคาดว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนอย่างรวดเร็วในแม่น้ำปิงคือการสร้างฝายของมนุษย์นั่นเอง