DSpace Repository

การศึกษาการไหลเวียนของน้ำบริเวณอ่าวไทยตอนบนเนื่องจากกระแสลม และความลึกท้องน้ำด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุริยัณห์ สาระมูล
dc.contributor.author รภัส วารีรักษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-04-21T04:23:46Z
dc.date.available 2022-04-21T04:23:46Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78436
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 en_US
dc.description.abstract ทำการศึกษาการไหลเวียนของกระแสน้ำเนื่องจากลมในอ่าวไทยตอนบนด้วยแบบจำลองอุทกพลศาสตร์ Delft3D โดยพิจารณาทั้งอิทธิพลของขนาด ทิศทาง และการหมุน (spinning) ของลม ร่วมกับรูปร่าง (สี่เหลี่ยมและรูปร่างจริง) และความลึกท้องน้ำ (ความลึกเฉลี่ยและความลึกจริง) ของพื้นที่ศึกษาที่ แตกต่างกัน เพื่อให้เข้าใจถึงลักษณะการไหลเวียนและกลไกการเปลี่ยนแปลงของน้ำได้มากขึ้น ผลการศึกษา พบว่า ขนาดและทิศทางของลมที่แตกต่างกันส่งผลให้เกิดการไหลเวียนของกระแสน้ำเป็นแบบ gyre โดยการไหลเวียนของน้ำแบบตามเข็มนาฬิกาจะทำน้ำยกตัวขึ้นบริเวณตรงกลางของ gyre ส่วนการไหลเวียนของน้ำ แบบทวนเข็มนาฬิกาจะทำให้เกิดแอ่งน้ำขึ้นที่บริเวณตรงกลางของ gyre แต่ในกรณีที่ขนาดและทิศทางลมมีค่าเท่ากันทั้งบริเวณจะไม่ทำให้เกิดกระแสน้ำซึ่งทำให้เกิด gyre แต่จะมีกระแสน้ำซึ่งทำให้เกิดการยกตัวของน้ำในทิศทางซึ่งลมพัดไป นอกจากนี้พบว่าความลึกท้องน้ำเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของน้ำและการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ ดังกรณีที่ปล่อยให้ลมพัดจนกระแสน้ำมีค่าคงที่จากนั้นลดความเร็วลมเป็นศูนย์ พบว่าแบบจำลองที่ใช้ความลึกเฉลี่ย (15 เมตร) รวมถึงแบบจำลองที่ใช้เส้นชายฝั่งจริงแต่มีความลึกเฉลี่ย จะพบการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาของระดับน้ำ โดยจะเคลื่อนที่ไปทางด้านซ้ายก่อนไม่ว่าลมจะพัดมาจากทิศใดก็ตาม และใช้เวลามากว่าหนึ่งปีในการที่จะให้ระดับน้ำหยุดนิ่ง แต่สำหรับแบบจำลองที่ใช้ความลึกจริงถึงแม้ ก่อนจะให้ความเร็วลมเป็นศูนย์จะมีการไหลเวียนแบบ gyre ก็ตาม จะไม่พบการเคลื่อนที่ของระดับน้ำดังกล่าว แต่พบกระแสน้ำมีการไหลในทิศทางที่ไม่แน่นอน en_US
dc.description.abstractalternative The study of wind-driven circulation in the Upper Gulf of Thailand was investigated using hydrodynamic model Delft3D. In this study, to better understanding about circulation pattern and mechanism in the Upper Gulf, magnitude, direction and spinning of wind together with the shape of model domain (square and real Upper Gulf) and bathymetry (averaged depth and actual depth) were taken into consideration. Form the model study, it found that the variation of wind speed and direction created gyre circulations which are counterclockwise and clockwise circulation. In addition, dome/pool of water in the middle of the gyre was found in clockwise/counterclockwise gyre. In contrast, gyre circulation disappeared when constant wind field was applied. Moreover, bathymetry was another important factor affecting water circulation and water level change. As seen in the case of allowing the wind to blow until water current reached equilibrium, then dropped wind speed to zero, it found that water level in model domain with averaged depth of 15 m propagated back and forth to the left first and took more than a year to return back to original state. While in the model domain with actual bathymetry such propagation was not existed, but turbulent flow was found instead. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กระแสน้ำ -- อ่าวไทย en_US
dc.subject กระแสน้ำ -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ en_US
dc.subject Ocean currents -- Thailand, Gulf of en_US
dc.subject Ocean currents -- Mathematical models en_US
dc.title การศึกษาการไหลเวียนของน้ำบริเวณอ่าวไทยตอนบนเนื่องจากกระแสลม และความลึกท้องน้ำด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ en_US
dc.title.alternative Water circulation pattern study in the Upper Gulf of Thailand caused by wind and bathymetry using numerical modeling en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record