Abstract:
จังหวัดอุทัยธานี เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางด้านแหล่งอุตสาหกรรมแร่อย่างมากมาย ซึ่งหนึ่งในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในจังหวัดอุทัยธานีคือ “อุตสาหกรรมแร่ดินขาว” ซึ่งเป็นจุดศึกษาของงานวิจัยในครั้งนี้อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับธรณีวิทยาโครงสร้างโดยหินเคลย์ในจุดศึกษาเกิดการบีบอัดของแรงทำให้เกิดชั้นหินคดโค้ง เป็นให้เกิดรอยแตกและเกิดการแทรกดันของแร่ควอตซ์ทำให้เกิดการแปรสภาพเล็กน้อยโดยที่แร่ควอตซ์ได้เข้าไปเชื่อมประสานระหว่างเม็ดตะกอนในหินเคลย์และบางส่วนได้ผุผังโดยสีผุมีลักษณะที่เป็นสีขาวทำให้เรียกว่าแร่ดินขาว โดยลักษณะที่กล่าวมาทั้งหมดสามารถสันนิฐานว่าเกิดจากอิทธิพลของรอยเลื่อน แม่ปิง รอยเลื่อน ศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ที่วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีแรงบีบอัดในช่วงการเกิดเทือกเขาอินโดจีนในยุคเพอร์โม-ไทรแอสซิก โดยโครงการนี้จะ มุ่งเน้นการศึกษาลักษณะธรณีวิทยาโครงสร้าง รวมถึงความสัมพันธ์ วิวัฒนาการ และกลไกการเกิดธรณีวิทยาโครงสร้างของเหมืองเคลย์ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ทั้งในระดับมัชฌิมภาคและระดับจุลภาคต่อไป จากการศึกษาระดับมัชฌิมภาคและระดับจุลภาค เพื่อหาหลักฐานจากค่าชั้นหินคดโง การวางตัวรอยเลื่อน ชุดของแนวแตก และโครงสร้างแนวเส้นพบว่าชั้นหินคดโค้งมีทิศทางของแกนชั้นหินคดโค้งวางตัวในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะแบบแตกเปราะอีกทั้งยังหลักฐานของรอยเลื่อนมุมย้อนที่ตัดผ่านชั้นหินคดโค้งและทั้งยังพบมีลักษณะที่บ่งบอกได้อีกคือชุดของแนวแตกทั้ง 4 แนวที่ศึกษาได้จากการวัดค่าจากภาคสนามและศึกษาผ่านแผ่นหินบาง โดยวิวัฒนาการธรณี แปรสัณฐานและธรณีวิทยาโครงสร้างของเหมืองเคลย์ เกิดขึ้นในยุคไทรแอสซิก ซึ่งเป็นผลมาจากการชนกันระหว่างแผ่นจุลทวีปฉาน-ไทยและแผ่นจุลทวีปอินโดจีนทำให้เกิดความเค้นหลักค่ามากสุดในประมาณทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้เป็นผล ทำให้เกิดชั้นหินคดโค้งแบบเลื่อนไถลที่เกิดร่วมกับแรงเฉือนเฉพาะระดับท้องถิ่นในบริเวณพื้นที่ศึกษาพร้อมกับการแปรสภาพเล็กน้อยและการเกิดโครงสร้างทางธรณีวิทยาอื่นๆ