Abstract:
การศึกษาผลของการเคลือบผิวด้วยไคโทซานต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของฝักถั่วแขก (Phaseolus vulgaris) หลังการเก็บเกี่ยว โดยใช้ไคโทซานที่ความเข้มข้น 0, 0.25, 0.5 และ 1% ใน สารละลายกรดแอซิติก 0.5% จากนั้นนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 และ 10 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 และ 20 วัน ตามลำดับ จากผลการศึกษา พบว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส การใช้ไคโท ซาน 0.25% เคลือบฝักถั่วแขกทำให้ฝักถั่วแขกมีลักษณะภายนอกที่ปรากฏดีที่สุดและยังช่วยในการรักษา น้ำหนักสดของฝักไว้ได้มากที่สุด คือ มีการลดลงของน้ำหนักสดในวันที่ 5 และ 10 ของการเก็บรักษาเพียง ร้อยละ 12.28 และ 28.75 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างทางสถิติของปริมาณวิตามินซี ค่าการรั่วไหลของสารอิเล็กโทรไลต์ ปริมาณคลอโรฟิลล์ และฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน นอกจากนี้การเก็บรักษา ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส พบว่าทั้งลักษณะภายนอก การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสด การรั่วไหลของสาร อิเล็กโทรไลต์ ปริมาณคลอโรฟิลล์ ปริมาณวิตามินซี และฤทธิ์ต้านออกซิเดชันนั้นไม่มีความแตกต่างทาง สถิติระหว่างชุดทดลอง การใช้ไคโทซานในการเคลือบผิวฝักถั่วแขกที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศา เซลเซียสจึงไม่สามารถช่วยคงคุณภาพและยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยวของฝักถั่วแขกได้ โดยการเคลือบผิว ด้วยไคโทซานความเข้มข้น 1% นั้นมีการลอกของไคโทซานที่เคลือบไว้และที่ความเข้มข้นนี้ยังมีการสูญเสีย น้ำหนักสดที่มากที่สุด ทั้งนี้ ความเข้มข้นของไคโทซานที่ใช้อาจเป็นความเข้มข้นที่สูงเกินไปสำหรับการ เคลือบผิวฝักถั่วแขก