dc.contributor.advisor | กมลวรรณ ภาคาผล | |
dc.contributor.author | วรินทร ฉลาดการณ์ | |
dc.contributor.author | สุขุมาน ธงเงิน | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2022-04-22T09:15:30Z | |
dc.date.available | 2022-04-22T09:15:30Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78460 | |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 | en_US |
dc.description.abstract | ปัจจุบันมีการนำนาโนเซลลูโลสมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีสมบัติด้านความแข็งแรงสูง ขึ้นรูปเป็นฟิล์มได้ดี สามารถย่อยสลายได้ ซึ่งอาจนำไปเคลือบผิวกระดาษได้ แต่เนื่องจากนาโนเซลลูโลส มีสมบัติความชอบน้ำสูง จึงจำเป็นต้องพัฒนาสมบัติไม่ชอบน้ำของนาโนเซลลูโลสให้ดีขึ้น ดังนั้นในงานวิจัยนี้ จึงนำสารไซเลนชนิดที่ประกอบด้วยสายโซ่ไฮโดรคาร์บอนยาว ได้แก่ เฮกซะเดกซิลไตรเมทอกซีไซเลน และ เอ็นออกทิลไตรเอทอกซีไซเลน มาใช้ดัดแปรนาโนเซลลูโลส ซึ่งใช้การปั่นเหวี่ยงความเร็วสูงเพื่อเตรียมเป็น สารเคลือบนาโนเซลลูโลส แล้วนำไปเคลือบบนกระดาษ เพื่อวิเคราะห์ค่ามุมสัมผัสของน้ำบนสารเคลือบ และค่าการซึมผ่านของน้ำบนกระดาษที่ถูกเคลือบ จากการทดลองพบว่า เส้นใยนาโนเซลลูโลสหลังการดัดแปร ด้วยเฮกซะเดกซิลไตรเมทอกซีไซเลน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใยมากขึ้น สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีที่พบว่า มีโครงสร้างของสายโซ่ไฮโดรคาร์บอนยาวอย่างเห็นได้ชัดกว่าเอ็นออกทิลไตรเอทอกซี-ไซเลน นอกจากนี้ยังพบว่า กระดาษที่เคลือบนาโนเซลลูโลสที่ดัดแปรด้วยเฮกซะเดกซิลไตรเมทอกซีไซเลน มีค่ามุมสัมผัสของน้ำบนผิวสารเคลือบสูงกว่า และค่าความเร็วในการแพร่ผ่านของน้ำช้ากว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ เอ็นออกทิลไตรเอทอกซีไซเลน จึงกล่าวได้ว่าสารเคลือบนาโนเซลลูโลสที่ดัดแปรด้วยเฮกซะเดกซิลไตรเมทอกซี-ไซเลน สามารถเพิ่มสมบัติไม่ชอบน้ำได้ดีกว่า และพบว่าการดัดแปรที่อัตราส่วน 1 : 2 ของนาโนเซลลูโลสแห้ง : เฮกซะเดกซิลไตรเมทอกซีไซเลน โดยน้ำหนัก สามารถเพิ่มสมบัติไม่ชอบน้ำได้มากกว่าอัตราส่วนอื่น | en_US |
dc.description.abstractalternative | Presently, nanocellulose is widely used due to its high strength properties, good film formation, and biodegradability that it may be applied to coat on surface of paper. However, nanocellulose is highly hydrophilic; therefore, improving hydrophobic property is required prior to use. In this research, two types of silanes, hexadecyltrimethoxysilane (HDTMS) and n-octyltriethoxysilane (OTES) , which their structures consist of long hydrocarbon chain were used to modify nanocellulose. A high-speed centrifuge was employed to prepare coating materials from modified nanocellulose; after that, the coatings were applied on paper to determine water contact angle and penetration of water thru the coated papers. It was found that the nanocellulose fibers after modification with HDTMS showed larger diameters than unmodified one. It corresponded to the results of chemical structure analysis that long-chain hydrocarbons structure was found and its spectrum was more obvious than that of OTES. Moreover, this study found that the coated papers with HDTMS-nanocellulose samples exhibited higher water contact angle and slower penetration speed of water thru the papers than those of OTES. Consequently, it can be concluded that the coating made of nanocellulose modified with HDTMS was able to increase hydrophobic properties better than another one. In addition, its modification ratio at 1: 2 of dry nanocellulose : HDTMS could increase the hydrophobicity greater than other ratios. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | กระดาษ | en_US |
dc.subject | สารเคลือบผิวเพื่อป้องกัน | en_US |
dc.subject | เซลลูโลส | en_US |
dc.subject | Paper | en_US |
dc.subject | Protective coatings | en_US |
dc.subject | Cellulose | en_US |
dc.title | การปรับปรุงสมบัติไม่ชอบน้ำของนาโนเซลลูโลสสำหรับการใช้งานเคลือบกระดาษ | en_US |
dc.title.alternative | Improvement of Hydrophobic Properties of Nanocellulose for Paper Coating Application | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |