Abstract:
ตัวอย่างดินตะกอนพื้นผิว 28 สถานี จากพื้นที่ชายฝั่งทะเลในบริเวณอ่าวไทย นำมาทำการสกัดแยกไมโครพลาสติกด้วยกระบวนการ Density floatation ด้วยสารละลายเกลือแกงอิ่มตัว (saturated sodium chloride solution) และกรองแยกด้วยแผ่นกรอง IsoporeTM polycarbonate (ขนาดรูเปิด 5.0 μm) นำมาส่องใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ เพื่อศึกษาจำนวน ขนาด ลักษณะทางกายภาพได้แก่ สีและรูปร่างและระบุชนิดไมโครพลาสติกด้วยตัวอย่างภาพ ที่ทราบชนิดพลาสติกแล้วจากการวิเคราะห์หาหมู่ฟังก์ชันของ โมเลกุลโดยเทคนิค Fourier transform infrared spectroscopy (FT-IR spectroscopy) พบไมโครพลาสติกทั้งสิ้น 275 ชิ้น (5,362.9 ชิ้นต่อกก.นน.แห้ง) มีขนาดชิ้นตั้งแต่ 42 ถึง 4,985 μm และส่วนใหญ่มีขนาดระหว่าง 5 – 250 μm โดยส่วนใหญ่เป็นไมโครพลาสติกรูปร่างไร้รูปแบบ (fragment) และรูปร่างเส้นใย (filament) และพบไมโครพลาสติกโทนสีน้ำเงิน (blue) มากที่สุด จากการระบุชนิดไมโคร-พลาสติก พบว่าส่วนใหญ่เป็นพลาสติก Polypropylene (PP) และ Polyethylene (PE) จากแผนที่ การกระจายพบปริมาณไมโครพลาสติกสะสมในดินตะกอนในพื้นที่ปากแม่น้ำสูงกว่าในพื้นที่บริเวณชายหาดหรือหาดทราย โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดและต่ำสุดที่สถานีปากแม่น้ำท่าจีน (TC) และแนวสันทรายเขื่อนกันคลื่น ปากแม่น้ำปราณบุรี (PBJ) เท่ากับ 422.0 และ 9.7 ชิ้นต่อกก.นน.แห้ง ตามลำดับ ทั้งนี้พบแนวโน้มว่ารูปร่าง และชนิดของไมโครพลาสติกมีแนวโน้มสัมพันธ์กับขนาดอนุภาคดินตะกอน ไมโครพลาสติกรูปร่าง ไร้รูปแบบและเส้นใยพบมากในพื้นที่มีอนุภาคดินตะกอนละเอียดและหยาบตามลำดับ และในอนุภาคดิน ตะกอบหยาบพบ Polyethylene (PE) เป็นชนิดเด่นเพียงชนิดเดียว