Abstract:
โครงสร้างและความหลากหลายของจุลินทรีย์ในดิน (ไมโครไบโอม) ส่งผลต่อคุณภาพดิน และการก่อ โรคของพืช โดยมีงานวิจัยพบว่าการใช้ไมโครไบโอมหรือการปรับประชากรจุลินทรีย์ที่หลากหลายในดิน สามารถแก้ปัญหาพืชการเกษตรและปัญหาเกี่ยวกับดินเรื้อรังได้หลายอย่าง เช่น พืชที่ทนความเค็มได้ และ คุณภาพดินที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้มากในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยงานวิจัยนี้ได้ เลือกพื้นที่อุทยานแห่งชาติจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ อุทยาน แห่งชาติเขาพระวิหาร อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย และอุทยานแห่งชาติผาแต้ม เนื่องจากเป็นจังหวัดขนาด ใหญ่ที่มีความหลากหลายของภูมิสัณฐานและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นตัวแทนของดินธรรมชาติหรือดิน ที่ไม่มีการสัมผัสกับกิจกรรมของมนุษย์และใช้เป็นฐานข้อมูลของจุลินทรีย์ในดินจังหวัดอุบลราชธานี ไป เปรียบเทียบกับดินในพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อดูความแตกต่างของความหลากหลายของจุลินทรีย์ อีกทั้งยัง สามารถนาข้อมูลนี้มาใช้ปรับปรุงคุณภาพดินจากฐานข้อมูลของจุลินทรีย์ต่อไป ผลการวิจัยพบว่าดินในอุทยาน แห่งชาติจังหวัดอุบลราชธานีมีความชื้นในดินขึ้นอยู่กับลักษณะดินและบริเวณที่เก็บตัวอย่างดิน รวมทั้งมี ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และอินทรียวัตถุต่า ทาให้ไม่เหมาะสมต่อการเจริญของพืช