Abstract:
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอินทรีย์สารกับประชาคมปูก้ามดาบและปูแสม บริเวณป่าชายเลนบ้านบางบ่อ จังหวัดสมุทรสงคราม ดำเนินการศึกษาเปรียบเทียบในพื้นที่ป่าปลูกอายุ 3 ปีชายเลนปลูกอายุ 5 ปี และป่าชายเลนธรรมชาติ ในเดือนสิงหาคม 2562 และดือนกุมภาพันธ์ 2563 พบปูก้ามดาบ 6 ชนิด คือ วงศ์ Ocypodidae ได้แก่ Tubuca forcipata, Tubuca paradussumieri, Austruca perplexa และ Austruca annulipes, วงศ์ Macrophthalmidae ได้แก่ Macrophthalmus teschi และวงศ์ Dotilidae ได้แก่ llyoplax orientalis และพบปูแสม 6 ชนิด คือ วงศ์ Varunidae ได้แก่ Metaplax dentipes และ Metaplax elegans, วงศ์ Grapsidae ได้แก่ Metopograpsus frontalis และ วงศ์ Sesarmidae ได้แก่ Parasesarma eumolpe, Episesaa versicolor และ Sarmatium sp. ปูแสม ชอบอาศัยอยู่บริเวณที่มีต้นไม้ในทางตรงกันข้ามกับปูก้ามดาบชอบอาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลนที่เป็นพื้นที่โล่งและแสงแดดส่องถึง การศึกษาครั้งนี้พบว่าลักษณะดินบริเวณป่าชายเลนบ้านบางบ่อทั้งสามแปลงใกล้เคียงกันจัดเป็นประเภทดินร่วนปนทราบ (Sandy loam) ปริมาณอินทรีย์สารในดินมีค่าระหว่าง 0.98-6.44 ดังนั้นการกระจายและความหนาแน่นของปูก้ามดาบและปูแสมมีความสัมพันธ์กับปริมาณอินทรีย์สาร, ออกซิเจนละลายน้ำและอุณภูมิของน้ำในดินอย่างมีนัยสำคัญ