Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาเส้นใยเซลลูโลส (cellulose fiber) ให้ได้มาซึ่งวัสดุที่ มีความสามารถในการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการหมัก (fermented gas) ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ โดยทำการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวดูดซับที่เตรียมได้จากเส้นใยเซลลูโลสและโมเลกุลาร์ซีฟที่มีหมู่ฟังก์ชันเอมีนภายใต้ความดันบรรยากาศ ตัวแปรที่ทำการศึกษาประกอบด้วย ชนิดของวัสดุดูดซับ อัตราส่วนโดยมวลระหว่างเส้นใยเซลลูโลสต่อมีโซพอรัสซิลิกาและโมเลกุลาร์ซีฟ ความเข้มข้นของไอน้ำในแก๊สผสมขาเข้า และอุณหภูมิการดูดซับ จากผลการทดลองพบว่า ที่อุณหภูมิการดูดซับ 70 องศาเซลเซียส ภายใต้ภาวะความเข้มข้นของไอน้ำในแก๊สผสมขาเข้าร้อยละ 0 โดยปริมาตร วัสดุดูดซับมีโซพอรัสซิลิกาและเส้นใยเซลลูโลสที่ตรึงด้วยเตตระเอทิลีนเพนตะมีนร้อยละ 40 โดยน้ำหนัก (40%TEPA/(0.75:0.25)m-SiO₂[subscript](CTAB)) มีความสามารถในการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด เท่ากับ 5.136 มิลลิโมลต่อกรัม โมเลกุลาร์ซีฟที่ตรึงด้วยเตตระเอทิลีนเพนตะมีนร้อยละ 40 โดยน้ำหนัก มีความสามารถในการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด เท่ากับ 2.300 มิลลิโมลต่อกรัม และภายใต้ภาวะความเข้มข้นของไอน้ำในแก๊สผสมขาเข้าร้อยละ 2 โดยปริมาตร วัสดุดูดซับมีโซพอรัสซิลิกาและเส้นใยเซลลูโลสที่ตรึงด้วยเตตระเอทิลีนเพนตะมีน ร้อยละ 40 โดย น้ำหนัก (40%TEPA/(0.75:0.25)m-SiO₂[subscript]( (CTAB)-sP) มีความสามารถในการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด เท่ากับ 5.532 มิลลิโมลต่อกรัม โมเล-กุลาร์ซีฟที่ตรึงด้วยเตตระเอทิลีนเพนตะมีนร้อยละ 40 โดยน้ำหนัก (40%TEPA/(0.75:0.25)m-SiO₂[subscript]((CTAB)-sP) มีความสามารถในการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด เท่ากับ 2.789 มิลลิโมลต่อกรัม