Abstract:
การศึกษาชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาทู (Rastrelliger brachysoma) และปลาลัง (Rastrelliger kanagurta) บริเวณอ่าวบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในเดือนกรกฎาคม, กันยายน, ธันวาคม 2562 และมีนาคม 2563 ตัวอย่างปลาทูและปลาลังที่นำมาศึกษาถูกเก็บจากเรือประมงพาณิชย์และเรือประมงพื้นบ้าน ที่มีพื้นที่ทำการประมงบริเวณอ่าวบางสะพาน และใช้เครื่องมือประมงประเภทอ้วนล้อมจับและอวนลอยปลาทู จากการวิเคราะห์ข้อมูลความยาวตลอดลำตัว น้ำหนักตัว และน้ำหนักเซลล์สืบพันธุ์ พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความยาวตลอดลำตัวกับน้ำหนักตัวของปลาทูทั้งสองเพศเท่ากับ W = 0.0082L³.¹¹⁸⁰ เพศผู้เท่ากับ W = 0.0087L³.⁰⁹⁹¹ และเพศเมียเท่ากับ W = 0.0068L³. ¹⁸³⁰ ส่วนปลาลังรวมทั้งสองเพศเท่ากับ W = 0.0048L³.³¹⁰⁸ เพศผู้เท่ากับ W = 0.0037L³.³⁹⁹⁶ และเพศเมียเท่ากับ W = 0.0069L³. ¹⁸³ อัตราส่วนเพศระหว่างเพศผู้ต่อเพศเมียของปลาทูเท่ากับ 1 : 0.86 ปลาลังเท่ากับ 1 : 0.60 ปลาทูและปลาลังมีค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศสูงในเดือนกรกฎาคม และเดือนมีนาคม แสดงว่าปลาทูและปลาลังมีช่วงการสืบพันธุ์วางไข่สูงในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ทะเลอ่าวไทยตอนกลางตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 พฤษภาคม ของกรมประมง