dc.contributor.advisor |
ขันทอง สุนทราภา |
|
dc.contributor.author |
ณัฏฐา จันทร์เมือง |
|
dc.contributor.author |
ปาณิศา เชษฐนรกุล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-05-02T09:41:54Z |
|
dc.date.available |
2022-05-02T09:41:54Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78524 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 |
en_US |
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เตรียม PVA/Chitosan-ZnO nanocomposite แบบ One-pot method เพื่อใช้กำจัดสีย้อมในน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม การสังเคราะห์ ZnO แบบควอนตัมดอท (Quantum dots) ทำให้ได้อัตราส่วนของพื้นที่ผิวต่อปริมาตรเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้การดูดซับมีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่เพื่อทำให้ควอนตัมดอทมีความเสถียรมากขึ้นและไม่เกิดการรวมกันหรือเกิด Ostwald ripening จึงใช้สาร Chitosan และ PVA ทำหน้าที่เสมือนเป็น matrix ป้องกันการรวมตัวกันของควอนตัมดอท ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาตัวแปรการดูดซับ ได้แก่ อุณหภูมิ (35, 40 และ 45 องศาเซลเซียส) ประเภทของสีย้อม (เมทิลีนบลู, คองโกเรด และแอซิดบลู) pH (2-10) เวลา (5-60 นาที) และความเข้มข้นของสารละลายสีย้อม (60, 80 และ 100 มิลลิกรัมต่อลิตร) จากการวิเคราะห์โครงสร้างผลึกของสารตัวอย่างที่เตรียมขึ้นด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (X-Ray Diffractometer; XRD) พบว่าลักษณะของพีคการเลี้ยวเบนที่มุม 2θ สอดคล้องกับรูปแบบการเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์มาตรฐานของซิงค์ออกไซด์ แสดงว่าสารที่สังเคราะห์ได้ด้วยวิธีการ One-pot มีซิงค์ออกไซด์เป็นองค์ประกอบหลักตามต้องการ ผลการศึกษาการดูดซับพบว่าการดูดซับสีย้อมเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา ได้สภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ของสีย้อมเมทิลีนบลู คือที่ 35 องศาเซลเซียส และพีเอช 10 ของสีย้อมคองโกเรด คือที่ 45 องศาเซลเซียส และพีเอช 6 และของสีย้อมแอซิดบลู คือที่ 35 องศาเซลเซียส และพีเอช 2 ผลการศึกษาอุณหพลศาสตร์ของการดูดซับพบว่าสีย้อมเมทิลีนบลูและสีย้อมคองโกเรดสามารถเกิดขึ้นเองได้และเกิดการดูดซับได้ดีที่อุณหภูมิสูง ในขณะที่สีย้อมแอดซิดบลูอาจต้องใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาในการดูดซับ และการดูดซับจะลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
In this work, a one–pot synthesis of ZnO – PVA / Chitosan nanocomposite quantum dots was developed for dye removal in wastewater. ZnO quantum dots increased the surface area to volume ratio resulting in higher absorption. In order to stabilize the quantum dots in any combination or Ostwald ripening, the ZnO quantum dots were dispersed in chitosan and polyvinyl alcohol (PVA) matrix. On adsorption characteristics, the effects of temperature (35, 40 and 45 °C), type of dye (methylene blue, congo red and acid blue), pH (2 – 10), contact time (5 – 60 minutes) and dye concentration (60, 80 and 100 ppm) were studied. The XRD analysis revealed that the prepared materials were composed of zinc oxide as main component. It was found that the dye adsorption increased with contact time. The optimum conditions for methylene blue adsorption were at initial dye concentration of 100 mg/l, 35°C and pH 10. Those for congo red were at 100 mg/l, 45°C and pH 6. And those for acid blue were at 100 mg/l, 35°C and pH 2. The thermodynamic results indicated that methylene blue and congo red adsorption were spontaneous endothermic process. While acid blue adsorption required catalysts for adsorption and converted to be exothermic process with decreased efficiency with increased temperature. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสี |
en_US |
dc.subject |
นาโนคอมพอสิต |
en_US |
dc.subject |
Sewage -- Purification -- Color removal |
en_US |
dc.subject |
Nanocomposites (Materials) |
en_US |
dc.title |
การกำจัดสีย้อมโดยการใช้นาโนคอมพอสิตไคโตซาน/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์-ออกไซด์ของโลหะ |
en_US |
dc.title.alternative |
Removal of dye by using metal oxide – PVA /chitosan nanocomposite |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |