Abstract:
ศึกษาอิทธิพลของรูปแบบความผูกพันที่มีต่อการเกิดความดึงดูดใจระหว่างบุคคล ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรี จำนวน 416 คน ถูกจำแนกว่ามีรูปแบบความผูกพันแบบมั่นคงหรือแบบหมกมุ่น หรือแบบหวาดกลัว หรือแบบไม่สนใจ แล้วถูกสุ่มเข้ารับเงื่อนไขการทดลองเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งจาก 16 เงื่อนไข ผู้เข้าร่วมการวิจัยอ่านสถานการณ์คู่รักสมมติ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อแสดงถึงรูปแบบของพฤติกรรม ความสัมพันธ์แบบโรแมนติก 1 ใน 4 รูปแบบ ตามรูปแบบความผูกพันในวัยผู้ใหญ่ และประเมินความดึงดูดใจที่มีต่อคู่รัก ผลการวิจัยพบว่า 1. สมมติฐานรูปแบบความผูกพันแบบมั่นคงได้รับการสนับสนุน คู่รักที่มีรูปแบบความผูกพันแบบมั่นคง ถูกผู้ที่มีรูปแบบความผูกพันแบบมั่นคง แบบหมกมุ่น แบบหวาดกลัว และแบบไม่สนใจ ประเมินว่ามีความดึงดูดใจมากที่สุด (p<.05) 2. สมมติฐานความคล้ายคลึงกันของรูปแบบความผูกพันได้รับการสนับสนุน บุคคลประเมินคู่รักที่มีรูปแบบความผูกพันคล้ายคลึงกันกับคู่รัก (P<.05) 3. สมมติฐานรูปแบบความผูกพันที่มีลักษณะเติมเต็มซึ่งกันและกัน ไม่ได้รับการสนับสนุนผู้ที่มีรูปแบบความผูกพันแบบมั่นคง ไม่ได้ประเมนคู่รักที่มีรูปแบบความผูกพันแบบหวาดกลัวว่า มีความดึงดูดใจสูงกว่าคู่รักที่มีรูปแบบความผูกพันแบบมั่นคง แบบหมกมุ่น และแบบไม่สนใจ (p<.05) ผู้ที่มีรูปแบบความผูกพันแบบหมกมุ่น ไม่ได้ประเมินคู่รักที่มีรูปแบบความผูกพันแบบไม่สนใจว่า มีความดึงดูดใจสูงกว่าคู่รักที่มีรูปแบบความผูกพันแบบมั่นคง แบบหมกมุ่น และแบบหวาดกลัว (p<.05)