DSpace Repository

การวิเคราะห์ปริมาณกลูโคสจากคาร์โบไฮเดรตในอาหารของคนไทยโดยการจำลองการย่อยในหลอดทดลอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุกัญญา เจริญพร
dc.contributor.author สรรชัย วิริยะชาติ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-05-06T08:47:33Z
dc.date.available 2022-05-06T08:47:33Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78542
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 en_US
dc.description.abstract ในปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันว่าโรคอ้วนและโรคเบาหวานได้กลายเป็นปัญหาสำคัญในวงการสาธารณสุขไทย ปริมาณน้ำตาลในเลือดเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการทำให้เกิดโรค และเป็นดรรชนีที่ต้องเฝ้าระวังในผู้ป่วยโรคดังกล่าว อย่างไรก็ดี การอาศัยค่าดัชนีน้ำตาลเพื่อคาดการณ์ปริมาณน้ำตาลในเลือดมีข้อจำกัด ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตุประสงเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างน้ำตาลที่ได้หลังจากการย่อยในหลอดทดลองของคาร์โบไฮเดรตแต่ละชนิดและหาความสัมพันธ์ของค่าที่ได้กับค่าดัชนีน้ำตาลตามที่ได้มีการรายงานในตารางค่าดัชนีน้ำตาลสากล โดยจำลองการย่อยคาร์โบไฮเดรตในหลอดทดลองโดยเลียนแบบกระบวนการย่อยคาร์โบไฮเดรตในร่างกายมนุษย์ ทำการย่อยคาร์โบไฮเดรตจำนวน 12 ชนิด ได้แก่ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ย์ ข้าวกล้องหอมมะลิ ข้าวกล้องหอมมะลิผสม ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวหอมมะลิ เส้นสปาเก็ตตี้ เส้นบะหมี่ เส้นวุ้นเส้น เส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จ เส้นเล็ก เส้นหมี่ ในหลอดทดลอง จากนั้นเก็บตัวอย่างที่เวลา 0 30 60 90 และ 120 นาที หลังการจำลองการย่อยคาร์โบไฮเดรตในลำไส้เล็ก เพื่อนำไปวัดปริมาณน้ำตาลกลูโคส ผลการศึกษาพบว่าคาร์โบไฮเดรตในกลุ่มที่ผ่านการแปรรูปเป็นกลุ่มที่มีปริมาณน้ำตาลหลังการย่อยสูงสุดและต่ำสุดในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตทั้งหมด โดยมีคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการแปรรูปจำพวกข้าวเกาะกลุ่มกันอยู่ระหว่างค่าสูงสุดและต่ำสุด เมื่อนำค่าปริมาณน้ำตาลกลูโคสที่วัดได้จากการย่อยในหลอดทดลองไปหาความสัมพันธ์กับค่าดัชนีน้ำตาลของคาร์โบไฮเดรต พบว่า ค่า Spearman’s rho ที่ได้มีค่าเท่ากับ 0.102 ซึ่งมีค่ามากกว่าค่าแอลฟาที่ 0.05 คือความมั่นใจทางสถิติ 95% แปลว่าปริมาณน้ำตาลที่ได้จากการย่อยในหลอดทดลองกับค่าดัชนีน้ำตาล ไม่มีความสำคัญเชิงสถิติ อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผลดังกล่าวเกิดจากความแตกต่างระหว่างอาหารที่ใช้ทดสอบในตารางค่าดัชนีน้ำตาลสากล กับอาหารที่วางจำหน่ายในไทย เช่น ข้าวกล้อง และ ขนมปัง อย่างไรก็ดีการทดลองนี้ สามารถแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของปริมาณน้ำตาลในอาหารหลักของคนไทยได้ อาทิเช่น เส้นวุ้นเส้นมีปริมาณน้ำตาลหลังย่อยต่ำสุด ในขณะที่ เส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จ และ เส้นเล็ก มีปริมาณน้ำตาลหลังย่อยสูงสุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความมั่นใจทางสถิติ 95% en_US
dc.description.abstractalternative Thai healthcare system is experiencing increases in diabetes and obesity-related diseases. These diseases are correlated with high blood sugar level, while lowering blood sugar level can alleviate these diseases. Food glycemic index is a conventional index that helps understand and predict foods’ effect to blood sugar level. However, this index has many limitations. Therefore, this study aimed to compare post digestion glucose level between each group of carbohydrate, and to find correlation between glucose level from the study and glycemic index value as reported in the international glycemic index table. Twelve carbohydrates, such as riceberry, brown rice, mixed rice, sticky rice, jasmine rice, spaghetti, egg noodle, mung bean noodle, instant noodle, rice noodle and fine rice noodle, were digested in test tube by mimicking the carbohydrate digestion process in the human body. Samples were collected and determined glucose levels at 0, 30, 60, 90 and 120 min after mimic the carbohydrate digestion process in the small intestine. The results showed that modified carbohydrates contributed to both ends of the extreme producing both highest and lowest post digestion glucose level while unmodified carbohydrates from rice group produce moderate level of glucose, and cluster together tightly within group. To find correlation between glucose level and glycemic index value, the Spearman’s rho of the experiment was 0.102, which was not enough to declare the experiment statistically significant (at rho = 0.05, or 95% confidence level). It might be because the sources of carbohydrates are different. However, this experiment demonstrated the trend of sugar content in Thai food. For example, mung bean noodle showed lowest glucose concentration, while instant noodle and rice noodle showed highest glucose concentration after these digestive processes. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กลูโคส en_US
dc.subject อาหาร -- ปริมาณคาร์โบไฮเดรต en_US
dc.subject Glucose en_US
dc.subject Food -- Carbohydrate content en_US
dc.title การวิเคราะห์ปริมาณกลูโคสจากคาร์โบไฮเดรตในอาหารของคนไทยโดยการจำลองการย่อยในหลอดทดลอง en_US
dc.title.alternative Analysis of Availability of Glucose from Thai Common Carbohydrate Food by Means of In Vitro Digestion en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record