Abstract:
การพัฒนาระบบดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งเป้าจะใช้เทคโนโลยีฟลูอิไดเซชันในช่วงการไหลแบบ Circulating-Turbulent Fluidized Bed (CTFB) ด้วยหอดักจับไรเซอร์แบบหลายชั้น สูง 1 เมตร และกว้าง 0.05 เมตร มีการติดตั้งระบบแลกเปลี่ยนความร้อนซึ่งมีหน่วยแลกเปลี่ยนความร้อน ใช้ท่อทองแดงประเภท L ขนาด ¼ นิ้ว จำนวนทั้งสิ้น 66 ท่อ เป็นท่อลำเลียงน้ำหล่อเย็น ในระบบนี้ใช้ตัวดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นโพแทสเซียมคาร์บอเนต (K2CO3) ที่โหลดบน แกรมมาอลูมิน่า (γ-Al2O3) ด้วยวิธี Impregnation โดยทำ การศึกษาตัวแปร 3 ตัวที่ส่งผลต่อการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้แก่ อัตราการไหลเข้าของแก๊ส, อุณหภูมิของน้ำหล่อเย็น และความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขาเข้า โดยใช้โปรแกรม LabVIEW สำหรับวัดและประมวลผลการวิเคราะห์ความเข้มข้นและอุณหภูมิของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเซนเซอร์ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาประสิทธิภาพและสภาวะที่เหมาะสมในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการทดลองพบว่า การเตรียมตัวดูดซับด้วยวิธี Impregnation สามารถดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีขึ้น, อัตราการไหลเข้าของก๊าซส่งผลต่อการกระจายตัวของตัวดูดซับ, อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นส่งผลต่อการเกิดปฏิกิริยาการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีผลต่อความสามารถดักจับก๊าซคาร์บอนได- ออกไซด์ อย่างไรก็ตาม ด้วยความเร็วของแก๊สที่ใช้ ฟลูอิไดเซชันที่เกิดขึ้น อยู่ในช่วงการไหลแบบ Bubbling flow regime