DSpace Repository

การผลิตฟิล์มคอมโพสิตของพูลลูแลนและสารสกัดจากสมุนไพรเพื่อยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรีย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สีหนาท ประสงค์สุข
dc.contributor.author ณัฐพัชร รัตนะหัสดิน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-05-10T02:44:35Z
dc.date.available 2022-05-10T02:44:35Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78563
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 en_US
dc.description.abstract การนำสารสกัดสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบฟิล์มเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่ทั่วโลกเริ่มให้ความสนใจ ซึ่งพูลลูแลนเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่เหมาะสำหรับการขึ้นรูปฟิล์มและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ในการศึกษานี้ได้ทำการสกัดสารสกัดหยาบจากสมุนไพร 2 ชนิด ได้แก่ ใบสาบเสือ (Chromolaena odorata (L.) R.M. King & H. Rob.) และต้นตะไคร้ (Cymbopogon citralus (DC.) Stapf) ด้วย 95% เอทานอล เมื่อทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ S. epidermidis ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคผิวหนัง พบว่าสารสกัดหยาบจากสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดมีฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตของเชื้อทดสอบ เมื่อทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเติบโตของเชื้อ (MIC) โดยค่าความเข้มข้นที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตของเชื้อที่ 50% (IC₅₀) ของสารสกัดจากใบสาบเสือต่อเชื้อ S.aureus และ S. epidermidis มีค่าเท่ากับ 11.19 และ 3.03 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ในขณะที่สารสกัดจากตะไคร้มีค่า IC₅₀ เท่ากับ 11.94 และ 5.11 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ นอกจากนี้มีการศึกษาถึงผลกระทบของความเข้มข้นของพลูลูแลนและกลีเซอรอลต่อคุณลักษณะของฟิล์มที่ผลิตได้โดยพบว่าฟิล์มที่ผลิตจากพูลลูแลนความเข้มข้น 4% (โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) ร่วมกับกลีเซอรรอลความเข้มข้น 0.5% (โดยปริมาตรต่อปริมาตร) มีสมบัติความยืดหยุ่นที่ดีกว่าฟิล์มที่เตรียมจากความเข้มข้นอื่นในการศึกษานี้ ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าที่ความเข้มข้นของพูลลูแลนและกลีเซอรอลนี้อาจจะสามารถนำมาใช้ในการเตรียมฟิล์มยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรีย ร่วมกับสารสกัดจากใบสาบเสือและต้นตะไคร้ในอนาคตได้ en_US
dc.description.abstractalternative Application of herbal extracts in film is a new type of products that is worldwide interesting. Pullulan is mentioned as a suitable and safe biopolymer for film forming that is safe for consumers. In this study, crude extracts of leaves of bitter bush (Chromolaena odorata (L.) R.M. King & H. Rob.) and stem of lemon grass (Cymbopogon citratus (DC.) Stapf) by maceration with 95% ethanol. The extracts were tested for the growth-inhibitory activity of bacteria causing skin disease, Staphylococcus aureus and S. epidermidis. The results showed that both herbal extracts could inhibit the growth of S. aureus and S. epidermidis. The half maximal inhibitory concentration (IC₅₀) of leaves extract of bitter bush on S. aureus and S. epidermidis were 11.39 and 3.03 mg/ml, respectively, while IC₅₀ of stem extract of lemon grass were 11.94 and 5.11 mg/ml, respectively. In addition, the effects of pullulan and glycerol concentration on film characteristic were investigated. At 4% (w/v) pullulan and 0.5% (v/v) glycerol, the casted film presented the higher flexibility than those of others in this study. It might be concluded that these concentrations of pullulan and glycerol could be applied for further preparation of antibacterial film with crude extracts of leaves of bitter bush and stem of lemon grass. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สารต้านแบคทีเรีย en_US
dc.subject สารสกัดจากพืช en_US
dc.subject Antibacterial agents en_US
dc.subject Plant extracts en_US
dc.title การผลิตฟิล์มคอมโพสิตของพูลลูแลนและสารสกัดจากสมุนไพรเพื่อยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรีย en_US
dc.title.alternative Production of composite film of pullulan and herbal extracts to inhibit the growth of bacteria en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record