Abstract:
การศึกษาลักษณะพิเศษและธรณีเคมีของแหล่งแร่เหล็ก-ทองแดง เขาทับควาย จังหวัดลพบุรีแบ่งเป็น 2 วิธีคือ 1.ศึกษาโดยศิลาวรรณาและวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยเครื่อง EPMA โดยมีตัวอย่างคือหินท้องที่ หินแทรกซ้อน และสินแร่ โดยนำตัวอย่างไปทำ polish mount และ thin-section เพื่อหาองค์ประกอบแร่และเปรียบเทียบกับตำแหน่งที่เก็บตัวอย่าง ทำให้ทราบว่าเป็นแหล่งแร่เหล็กที่เกิดแบบ skarn 2.ศึกษาทางเคมี โดยนำตัวอย่าง หินท้องที่ หินทิ้ง หินแทรกซ้อน และสินแร่ นำไปทดลองการชะละลายด้วยวิธี Microwave total digestion แล้วนำไปวิเคราะห์หาธาตุโลหะหนักด้วยเครื่อง Inductively coupled plasma mass spectrometry (ICP-OES)พบว่า ค่าความเข้มข้นโดยเฉลี่ยของหินที่เลือกนำไปวิเคราะห์ทั้ง 12 ตัวอย่าง โดยแบ่งเป็นหินท้องที่ 1 ตัวอย่าง หินทิ้ง 7 ตัวอย่าง หินแทรกซ้อน 1 ตัวอย่าง และสินแร่ 3 ตัวอย่าง จากผลการตรวจหาปริมาณโลหะหนักด้วยเครื่อง ICP-OES ทำให้เราทราบว่า หินท้องที่พบธาตุโลหะหนักที่เกินค่ามาตรฐาน คือ สารหนู (As) โครเมียม (Cr) ทองแดง (Cu) และแมงกานีส (Mn) ที่มีค่าเกินมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ปริมาณของสารหนู (As) เกินในตัวอย่าง หินทิ้ง หินท้องที่ และสินแร่ ปริมาณโครเมียม (Cr) เกินในตัวอย่างหินทิ้ง ปริมาณทองแดง (Cu) เกินในตัวอย่างสินแร่ หินทิ้ง และหินแทรกซ้อน และปริมาณแมงกานีส (Mn) เกินในตัวอย่าง สินแร่ ดังนั้นควรเฝ้าระวังโลหะหนักที่เกินค่ามาตรฐานที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้น และสามารถจัดเก็บดูแล หินท้องที่ หินทิ้ง หินแทรกซ้อนและสินแร่ตามลำดับได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามโครงงานวิจัยนี้สามารถนำไปสู่การวางแผนการจัดการจัดเก็บหินท้องที่ หินทิ้ง หินแทรกซ้อนและสินแร่ ที่สมัยก่อนได้จากการทำเหมืองและไม่มีการจัดเก็บที่ดีพอ เพื่อในอนาคตมีการวางแผนการจัดการกับปัญหาดังกล่าวที่จะตามมาอาจจะส่งผลต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบเหมืองเก่า